R&D / เทคโนโลยี

กิจกรรมเกี่ยวกับทรัพย์สินทางปัญญา

นโยบายขั้นพื้นฐาน

การป้องกันสิทธิ์ในทรัพย์สินทางปัญญา (IP) อย่างเหมาะสมจะช่วยให้เกิดความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและการแข่งขันทางเสียง รวมถึงยังก่อให้เกิดความตระหนักถึงไลฟ์สไตล์อันมั่งคั่งและการพัฒนาของสังคม

Mitsubishi Electric Group ตระหนักว่าทรัพย์สินทางปัญญา (IP) เป็นสิทธิ์ที่มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อทรัพยากรการจัดการที่จำเป็นต่ออนาคตและจำเป็นต้องได้รับการปกป้อง โดยการผนวกรวมธุรกิจ งาน R&D และกิจกรรมทรัพย์สินทางปัญญาเข้าด้วยกัน กลุ่มบริษัทฯ ดำเนินการในเชิงรุกเพื่อเสริมความแข็งแกร่งของสินทรัพย์ทางทรัพย์สินทางปัญญาซึ่งมีความเชื่อมโยงกับกลยุทธ์การเติบโตทางธุรกิจของกลุ่มบริษัทฯ อย่างใกล้ชิด และดำเนินการส่งเสริมทั้งธุรกิจและสังคม นอกจากนี้ยังดำเนินการปกป้องสิทธิ์ด้านทรัพย์สินทางปัญญาด้วย

โครงสร้างของฝ่ายทรัพย์สินทางปัญญา

ฝ่ายทรัพย์สินทางปัญญาของ Mitsubishi Electric Group รวมถึงฝ่ายทรัพย์สินทางปัญญาสำนักงานใหญ่และฝ่ายทรัพย์สินทางปัญญาในที่ทำงาน ศูนย์ R&D และบริษัทในเครือ กิจกรรมของฝ่ายทรัพย์สินทางปัญญาแต่ละฝ่ายจะดำเนินการภายใต้เจ้าหน้าที่บริหารที่รับผิดชอบเกี่ยวกับทรัพย์สินทางปัญญาในแต่ละที่ตั้ง ฝ่ายทรัพย์สินทางปัญญาสำนักงานใหญ่ทำหน้าที่กำหนดกลยุทธ์สำหรับทั้งกลุ่มบริษัทฯ ให้การสนับสนุนโครงการที่สำคัญ ประสานงานกับหน่วยงานภายนอก รวมทั้งสำนักงานสิทธิบัตร และรับผิดชอบเกี่ยวกับกิจกรรมการประชาสัมพันธ์ด้านทรัพย์สินทางปัญญา ที่สถานที่ทำงาน ศูนย์ R&D และฝ่ายทรัพย์สินทางปัญญาของบริษัทในเครือให้การสนับสนุนกลยุทธ์ส่วนบุคคลที่สอดคล้องกับกลยุทธ์โดยรวมด้านทรัพย์สินทางปัญญาของกลุ่มบริษัทฯ ฝ่ายเหล่านี้ทำงานเพื่อเชื่อมโยงและพัฒนากิจกรรมโดยมุ่งหมายที่จะพัฒนาโครงการริเริ่มที่มีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้น

แผนผัง: ธุรกิจการผสานระบบ, R&D และกิจกรรมทรัพย์สินทางปัญญา

ธุรกิจการผสานระบบ, R&D และกิจกรรมทรัพย์สินทางปัญญา

กลยุทธ์ด้านทรัพย์สินทางปัญญาทั่วโลก

Mitsubishi Electric Group กำหนดรูปแบบด้านทรัพย์สินทางปัญญาที่จำเป็นในการเชื่อมต่อกับธุรกิจหลักและโครงการ R&D ที่สำคัญ และยังเร่งผลักดันการปรับเข้าสู่โลกาภิวัตน์ของกิจกรรมด้านทรัพย์สินทางปัญญาโดยการจดสิทธิบัตรก่อนที่จะเข้าร่วมการพัฒนาธุรกิจในประเทศตลาดเกิดใหม่ที่คาดว่าจะมีโอกาสในการขยายธุรกิจ เจ้าหน้าที่ซึ่งเป็นผู้อยู่อาศัยจะได้รับมอบหมายให้ประจำที่ไซต์ของ Mitsubishi Electric ในสหรัฐอเมริกา ยุโรป จีน และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เพื่อรับผิดชอบกิจกรรมด้านทรัพย์สินทางปัญญาและเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้กับความสามารถด้านทรัพย์สินทางปัญญาของสำนักงานธุรกิจ, ศูนย์ R&D และบริษัทในเครือฯ ในแต่ละประเทศ เราพยายามอย่างเต็มที่เพื่อสร้างเครือข่ายสิทธิบัตรทั่วโลกที่มีความมั่นคงผ่านความคิดริเริ่มเหล่านี้

บริษัทที่อยู่อันดับที่ 2 ของญี่ปุ่นในแง่ของจำนวนการจดทะเบียนสิทธิบัตร (ในปี 2022) ที่ประกาศโดยสำนักงานสิทธิบัตรญี่ปุ่น (JPO) และอันดับที่ 4 ของโลกในแง่ของแอปพลิเคชันสนธิสัญญาความร่วมมือด้านสิทธิบัตร (PCT) โดยธุรกิจ (ในปี 2022) ประกาศโดยองค์การทรัพย์สินทางปัญญาโลก (WIPO)

นอกเหนือจากการสร้างเครือข่ายสิทธิบัตรแล้ว เรายังมีความกระตือรือร้นในการทำกิจกรรมเพื่อให้ได้มาซึ่งสิทธิในการออกแบบในญี่ปุ่นและต่างประเทศ เพื่อปกป้องทั้งด้านการทำงานและการออกแบบของเทคโนโลยีของเรา

(Top 5) ผู้สมัคร PCT: ธุรกิจต่างๆ , 2022 (WIPO, PCT Yearly Review)

อันดับ ผู้สมัคร ประเทศ จำนวนผู้สมัคร
1 Huawei ประเทศจีน 7,689
2 SAMSUNG เกาหลีใต้ 4,387
3 Qualcomm สหรัฐอเมริกา 3,855
4 Mitsubishi Electric ญี่ปุ่น 2,320
5 Ericsson สหรัฐอเมริกา 2,158

(WIPO)

จำนวนการจดทะเบียนสิทธิบัตรปี 2022 (ญี่ปุ่น)

อันดับ ผู้สมัคร จำนวนสิทธิบัตร
1 Toyota Motor 4,559
2 Mitsubishi Electric 3,692
3 Canon 3,382
4 DENSO 2,919
5 Panasonic 2,856

(JPO)

  • กราฟ: แนวโน้มประจำปีในการยื่นจดสิทธิบัตรในต่างประเทศโดย Mitsubishi Electric
  • แผนผัง: การเสริมความแข็งแกร่งเพิ่มเติมให้ความสามารถของ IP ทั่วโลก

    การเสริมความแข็งแกร่งเพิ่มเติมให้ความสามารถของ IP ทั่วโลก

กิจกรรม Open Technology Bank

เพื่อให้บรรลุถึงอนาคตที่ยั่งยืน Mitsubishi Electric ได้จัดกิจกรรม Open Technology Bank ซึ่งช่วยส่งเสริมความร่วมมือทั้งภายในและภายนอกเกี่ยวกับทรัพย์สินทางปัญญาในปีงบประมาณ 2022 ในอดีต หลักในการใช้ทรัพย์สินทางปัญญาเป็นไปเพื่อการแข่งขันระหว่างบริษัทต่างๆ (การผูกขาดการใช้ ป้องกันการลอกเลียนแบบและการใช้สิทธิ์ร่วมกับบริษัทอื่น) อย่างไรก็ตาม บริษัทมุ่งมั่นที่จะใช้ทรัพย์สินทางปัญญาเป็นเครื่องมือเพื่อส่งเสริมการสร้างสรรค์ร่วมกันในอนาคต

การส่งเสริมความร่วมมือภายนอก

Mitsubishi Electric Group มีสินทรัพย์ที่เป็นเทคโนโลยีที่มีกรรมสิทธิ์มากมาย (สิทธิบัตร ความรู้ ฯลฯ) ในหลากหลายด้าน ตั้งแต่ภายในครัวเรือนไปจนถึงอวกาศ กิจกรรม Open Technology Bank มีเป้าหมายที่จะสร้างคุณค่าและธุรกิจใหม่ๆ ผ่านการผสมผสานและขยับขยายเทคโนโลยีต่างๆ ของ Mitsubishi Electric เข้ากับเทคโนโลยีและแนวความคิดของบริษัทพันธมิตร เป้าหมายดังกล่าวสามารถทำได้ด้วยความพยายามในการสนับสนุนบริษัทพันธมิตรเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการใหม่ๆ โดยการให้กรรมสิทธิ์ในการใช้งานสินทรัพย์ทางเทคโนโลยีของ Mitsubishi Electric ที่มีส่วนช่วยในการแก้ไขปัญหาความท้าทายทางสังคมที่หลากหลาย จากการดำเนินการเหล่านี้ ในการใช้เทคโนโลยีที่มีส่วนช่วยแก้ปัญหาความท้าทายต่างๆ รวมถึงการสร้างสังคมที่มีการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนและการเตรียมพร้อมสำหรับภัยพิบัติทางธรรมชาติ รวมถึงการให้กรรมสิทธิ์เพื่อใช้เทคโนโลยีเหล่านี้แก่ภาคและกลุ่มอุตสาหกรรมต่างๆ Mitsubishi Electric มุ่งมั่นที่จะส่งเสริมการสร้างสรรค์ร่วมกับหุ้นส่วนภายนอกเกี่ยวกับทรัพย์สินทางปัญญาและมีส่วนร่วมในการสร้างอนาคตที่ยั่งยืน

การเสริมสร้างความร่วมมือภายใน

จากการดำเนินกิจกรรมเกี่ยวกับทรัพย์สินทางปัญญา Mitsubishi Electric Group ยังคงรักษาจำนวนการยื่นขอและการจดสิทธิบัตรในระดับสูงไว้ทั้งในญี่ปุ่นและต่างประเทศ ในทางกลับกัน การใช้สิทธิบัตรแต่ละฉบับจะถูกจำกัดอยู่ภายในงานที่ยื่นจดสิทธิบัตรที่เกี่ยวข้องในหลายกรณี และเทคโนโลยีที่จดสิทธิบัตรยังไม่ได้รับการนำเสนอให้ใช้งานภายในองค์กรได้อย่างสมบูรณ์ ด้วยเหตุนี้ เราจึงได้เปิดเผยแผนผังเทคโนโลยีภายในที่จัดหมวดหมู่และแสดงสิทธิบัตรต่างๆ ของเรา โดยให้ความสำคัญในเรื่องเทคโนโลยีและความท้าทายทางสังคม ด้วยความพยายามเพื่อส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีต่างๆ ให้เหนือขอบเขตส่วนงานที่กำหนดและสร้างการทำงานร่วมกันในฐานะผู้ผลิตด้านไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ แผนผังนี้ออกแบบมาเพื่อให้ผู้คนสามารถอ้างอิงข้อมูลสรุปของแต่ละสิทธิบัตร แผนกและชื่อของผู้ผลิต ตลอดจนรายละเอียดอื่นๆ ข้อมูลอ้างอิงนี้จะส่งเสริมการทำงานร่วมกันระหว่างส่วนงานต่างๆ ภายในองค์กร

กลยุทธ์ด้านทรัพย์สินทางปัญญาสำหรับมาตรฐานสากล

เพื่อที่จะขยายธุรกิจไปสู่ตลาดโลก Mitsubishi Electric Group จึงส่งเสริมการสร้างมาตรฐานสากลอย่างต่อเนื่อง กลุ่มบริษัทฯ ส่งเสริมกิจกรรมในการจัดหามาซึ่งสิทธิบัตรที่เป็นการสนับสนุนการสร้างมาตรฐานสากล (เช่น สิทธิบัตรที่เป็นมาตรฐานอุตสาหกรรม) อย่างชัดเจน ในฐานะที่เป็นสมาชิกขององค์กรที่มีการใช้ระบบร่วมใช้สิทธิ์ในสิทธิบัตร (Patent Pool) สำหรับ Digital Broadcasting, MPEG, HEVC, Blu-ray Disc™* และการสื่อสารผ่านอุปกรณ์มือถือในการควบคุมสิทธิบัตรที่เป็นมาตรฐานอุตสาหกรรม (Standard Essential Patent) รายได้จากทรัพย์สินทางปัญญาที่ได้รับผ่านองค์กรนี้มีการนำไปใช้ปรับปรุงและส่งเสริมการเติบโตด้านรายรับของธุรกิจ ในปัจจุบัน กลุ่มบริษัทฯ ยังพยายามเพิ่มกิจกรรมต่างๆ เพื่อจัดหามาซึ่งสิทธิบัตรในสาขาที่แข่งขันได้และมีความเกี่ยวข้องกับมาตรฐานระดับสากล ตลอดจนสนับสนุนกิจกรรมด้านทรัพย์สินทางปัญญาเพื่อส่งเสริมความสามารถในการแข่งขันของผลิตภัณฑ์และขยายส่วนแบ่งตลาด ในด้านระบบการสื่อสารเคลื่อนที่ 5G ซึ่งคาดว่าจะแพร่หลายในอนาคต เราไม่เพียงมีส่วนร่วมในกิจกรรมที่จะได้รับสิทธิบัตรที่เป็นมาตรฐานอุตสาหกรรม แต่เรายังใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีของเราเพื่อส่งเสริมกิจกรรมทรัพย์สินทางปัญญาที่ทำให้ผลิตภัณฑ์ของเรามีคุณภาพดียิ่งขึ้นไปอีก

  • * Blu-ray Disc™ เป็นเครื่องหมายการค้าของ Blu-ray Disc Association

การเคารพในสิทธิ์ในทรัพย์สินทางปัญญา

Mitsubishi Electric Group ตระหนักเป็นอย่างดีถึงความสำคัญของการรับรู้และการเคารพซึ่งกันและกัน ไม่ใช่เพียงสิทธิ์ในทรัพย์สินทางปัญญาของตน แต่เป็นสิทธิ์ในทรัพย์สินทางปัญญาของผู้อื่นด้วย การปฏิบัตินี้มีการกำหนดอย่างชัดเจนในแนวทางการปฏิบัติของ Mitsubishi Electric Group และมีการนำไปใช้ทั่วทั้งกลุ่มบริษัทฯ

การละเมิดสิทธิ์ในทรัพย์สินทางปัญญาของผู้อื่นไม่เพียงเป็นการละเมิดกฎด้านจริยธรรมองค์กรและการกำกับดูแล แต่ยังเป็นการสร้างผลเสียต่อการดำเนินงานอย่างต่อเนื่องของกลุ่มบริษัทฯ ผลเสียที่อาจเกิดขึ้นตามมาประกอบด้วย ข้อผูกมัดที่จะต้องจ่ายเงินค่าสินไหมหรือข้อบังคับให้ต้องยกเลิกการผลิตผลิตภัณฑ์บางชนิด

เพื่อที่จะป้องกันการละเมิดสิทธิ์ในทรัพย์สินทางปัญญาของผู้อื่น เรามีมาตรการด้านการศึกษามากมายให้กับวิศกรและเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับทรัพย์สินทางปัญญา เพื่อเพิ่มความตระหนักและส่งเสริมความเคารพต่อสิทธิ์ในทรัพย์สินทางปัญญาของผู้อื่น ในขณะเดียวกันก็มีการกำหนดกฎต่างๆ เพื่อให้มั่นใจว่าการสำรวจสิทธิ์ในสิทธิบัตรของผู้อื่นมีการดำเนินการในทุกขั้นตอน ตั้งแต่การพัฒนาไปจนถึงการผลิต และมีการบังคับใช้อย่างเคร่งครัดทั่วทั้งกลุ่มบริษัทฯ

Mitsubishi Electric Group ยังดำเนินงานอย่างขันแข็งเพื่อป้องกันการละเมิดลิขสิทธิ์ด้านทรัพย์สินทางปัญญาโดยผู้อื่น นอกจากกิจกรรมภายในองค์กร เราจะให้น้ำหนักเป็นพิเศษสำหรับการให้ความร่วมมือกับองค์กรอุตสาหกรรมในการติดต่อกับหน่วยงานของรัฐทั้งในญี่ปุ่นและต่างประเทศ โดยถือเป็นส่วนหนึ่งของความหลากหลายของมาตรการในการป้องกันการปลอมแปลงผลิตภัณฑ์

ความร่วมมือในนโยบายด้านทรัพย์สินทางปัญญา

นโยบายด้านทรัพย์สินทางปัญญา เช่นนโยบายการตรวจสอบสิทธิบัตรที่รวดเร็วและมีประสิทธิภาพ กิจกรรมเพื่อสร้างมาตรฐานสากล มาตรการต่อต้านการปลอมแปลงสินค้าและสินค้าละเมิดสิขสิทธิ์ และการก่อตั้งระบบสิทธิบัตรสากล เหล่านี้ช่วยให้เกิดการแข่งขันที่เป็นธรรมและช่วยสร้างไลฟ์สไตล์และสังคมที่มั่งคั่ง

ตามความตระหนักนี้ Mitsubishi Electric ได้สร้างข้อเสนอมากมายเกี่ยวกับนโยบายด้านทรัพย์สินทางปัญญา และการการแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้องจากมุมมองด้านอุตสาหรรมผ่านกิจกรรมกับสถาบันต่างๆ เช่น สำนักงานกลยุทธ์ด้านทรัพย์สินทางปัญญาและตัวแทนภาครัฐของสำนักงานสิทธิบัตร และองค์กรอุตสาหกรรมเช่น Keidanren (หอการค้าของญี่ปุ่น) และสมาคมทรัพย์สินทางปัญญาของญี่ปุ่น ด้วยความตระหนักถึงความก้าวหน้าของโลกาภิวัตน์ด้านธุรกิจ Mitsubishi Electric จึงมีส่วนร่วมในการแลกเปลี่ยนทัศนคติและข้อมูลกับองค์การทรัพย์สินทางปัญญาโลก (WIPO) และสำนักสิทธิบัตรต่างประเทศ รวมถึงร่วมมือในการก่อตั้งนโยบายด้านทรัพย์สินทางปัญญาจากมุมมองที่กว้างขวางในระดับสากล