เราให้บริการฝึกอบรมทั้งแบบภายในและนอกสถานที่ มีหลักสูตรการฝึกอบรมที่ได้มาตรฐานมากกว่า 20 หลักสูตร มีจำนวนการฝึกอบรมมากกว่า 100 ครั้งต่อปี ซึ่งหลักสูตรการฝึกอบรมทั้งหมดนี้จะครอบคลุมความรู้ตั้งแต่ระดับพื้นฐานจนถึงระดับสูง ทั้งนี้ทางบริษัทยังมีห้องฝึกอบรมที่สามารถรองรับผู้เข้าฝึกอบรมได้มากกว่า 22 ท่าน โดยผู้เข้าฝึกอบรมจะได้ทดลองการใช้งานจริงด้วยอุปกรณ์และชุดทดลองที่ทันสมัยต่อเทคโนโลยีในปัจจุบัน อีกทั้งทางบริษัทยังจำกัดผู้เข้าฝึกอบรม จำนวน 2 ท่านต่อชุดทดลอง 1 ชุด ซึ่งส่งผลให้ผู้เข้าฝึกอบรมสามารถทำการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
ด้านทีมวิทยากรฝึกอบรมของทางบริษัทมิตซูบิชินั้น เป็นผู้มีประสบการณ์ด้านการสอนและการปฏิบัติงานจริง อีกทั้งยังผ่านหลักสูตรการฝึกอบรมโดยตรงจากบริษัทมิตซูบิชิที่ประเทศญี่ปุ่น ทำให้ผู้เข้าฝึกอบรมสามารถมั่นใจได้ว่า เนื้อหา ความรู้ ตลอดจนเทคนิคการแก้ปัญหาและประสบการณ์ต่างๆ จะสามารถถ่ายทอดสู่ผู้เข้าฝึกอบรมได้อย่างครบถ้วนและสามารถนำความรู้ที่ได้รับกลับไปประยุกต์ใช้กับงานของตนเองได้อย่างถูกต้อง
สำหรับรายละเอียด กรุณาดูที่ปฏิทินการฝึกอบรม
ปฏิทินการฝึกอบรม
หลักสูตรนี้จัดทำขึ้นสำหรับผู้เริ่มต้นซึ่งสนใจเรียนรู้เกี่ยวกับอุปกรณ์การควบคุมแบบอัตโนมัติ PLC โดยที่ผู้เข้าฝึกอบรมจะได้รับความรู้เกี่ยวกับหลักการทำงานรวมถึงวิธีการเลือกใช้งาน PLC ให้เหมาะสมกับประเภทของงาน ตลอดจนการทดลองเขียนโปรแกรมเพื่อควบคุมการทำงานของ PLC นอกจากนี้ผู้เข้าฝึกอบรมยังได้เรียนรู้ถึงวิธีการตรวจสอบและการแก้ไขปัญหาง่ายๆด้วยตัวเองเมื่ออุปกรณ์ PLC เกิดปัญหาต่างๆขึ้น
ในหลักสูตรนี้ผู้เข้าฝึกอบรมจะได้เรียนรู้และทดลองการใช้งานกับอุปกรณ์จริง ซึ่งถือเป็นโอกาสอันดีสำหรับผู้เข้าฝึกอบรมที่จะได้รับความรู้รวมถึงประสบการณ์ตรงจากอุปกรณ์จริง อีกทั้งยังได้ฝึกหัดการออกแบบโปรแกรมสำหรับควบคุมการทำงานของเครื่องจักรแบบง่ายๆ รวมทั้งการซ่อมบำรุงรักษาเชิงป้องกัน PM (Preventive Maintenance) PLC เบื้องต้นอีกด้วย
โครงสร้างหลักสูตร |
|
---|---|
ความรู้ที่ต้องมี |
|
อุปกรณ์ที่บริษัทจัดเตรียมให้ | ชุดทดลอง PLC (FX Series และ Q Series) จำนวน 16 ชุด |
เวลาในการฝึกอบรม | 9.00 – 16.30 น. (ลงทะเบียน 8.30 น.) |
จำนวนวัน | 2 วัน |
จำนวนผู้เข้าอบรม/ ครั้ง | 32 คน (ผู้เข้าอบรม 2 ท่าน/1 ชุดทดลอง) |
หมายเหตุ: รายละเอียดของหลักสูตรอาจมีการเปลี่ยนแปลงโดยไม่มีการแจ้งล่วงหน้า
หลักสูตรนี้จัดทำขึ้นเพื่อให้ผู้ที่มีความสนใจศึกษาหรือผู้ใช้งานทั่วไป ได้เรียนรู้ถึงการใช้งาน PLC ในระดับที่สูงขึ้น เนื่องจากในปัจจุบันนี้เครื่องจักรในโรงงานอุตสาหกรรมถูกออกแบบฟังก์ชั่นการควบคุมที่มีความซับซ้อนมากขั้น รวมทั้งมีการใช้คำสั่งในการเขียนโปรแกรม PLC ที่นอกเหนือจากการใช้คำสั่งพื้นฐานทั่วไป ในหลักสูตรนี้ผู้เข้าฝึกอบรมจะได้เรียนรู้ถึงการเขียนโปรแกรม PLC โดยใช้คำสั่งขั้นสูง และคำสั่งพิเศษเฉพาะใน PLC ในแต่ละรุ่น รวมถึงการใช้งาน PLC ร่วมกับโมดูลพิเศษชนิดอื่นๆ
ในหลักสูตรนี้ผู้เข้าฝึกอบรมจะได้เรียนรู้ถึงหลักการเขียนโปรแกรม PLC โดยใช้คำสั่งขั้นสูงรวมถึงการประยุกต์ใช้งาน PLC ร่วมกับอุปกรณ์ภายนอกแบบ Analog และ Digital ทั้งแบบ Input และ Output ทั้งนี้เพื่อช่วยให้ผู้เข้าฝึกอบรมได้เข้าใจพร้อมทั้งสามารถนำ PLC ไปประยุกต์ใช้กับงานที่มีความยากและซับซ้อนอย่างมีประสิทธิภาพ
โครงสร้างหลักสูตร |
|
---|---|
ความรู้ที่ต้องมี |
|
อุปกรณ์ที่บริษัทจัดเตรียมให้ | ชุดทดลอง PLC (Q Series) จำนวน 15 ชุด |
เวลาในการฝึกอบรม | 9.00 – 16.30 น. (ลงทะเบียน 8.30 น.) |
จำนวนวัน | 3 วัน |
จำนวนผู้เข้าอบรม/ ครั้ง | 30 คน (ผู้เข้าอบรม 2 ท่าน/1 ชุดทดลอง) |
หมายเหตุ: รายละเอียดของหลักสูตรอาจมีการเปลี่ยนแปลงโดยไม่มีการแจ้งล่วงหน้า
หลักสูตรนี้จัดทำขึ้นเพื่อให้ผู้ที่มีความสนใจศึกษาหรือผู้ใช้งานทั่วไปได้เรียนรู้ถึงหลักการนำโปรแกรม Microsoft Excel มาประยุกต์ใช้กับอุปกรณ์ PLC เพื่อทำการสื่อสารข้อมูลระหว่างกัน เนื่องจากระบบการผลิตสินค้าในปัจจุบันจำเป็นต้องมีการเก็บข้อมูลการผลิตต่างๆ เช่น ของเสียจากการผลิต, จำนวนงานที่รอระหว่างการผลิต, สินค้าที่รอส่งมอบ และอื่นๆ เพื่อนำข้อมูลที่ได้ไปวิเคราะห์เพื่อวางแผนการผลิต ดังนั้นการเก็บข้อมูลดังกล่าวในปัจจุบันจึงนิยมเก็บข้อมูลแบบอัตโนมัติผ่าน PLC โดยข้อมูลที่เก็บจะถูกแสดงผลผ่านโปรแกรม Microsoft Excel ซึ่งการใช้งานในลักษณะดังกล่าวกำลังเป็นที่นิยมมากในระบบอุตสาหกรรมปัจจุบัน
ในหลักสูตรนี้ผู้เข้าฝึกอบรมจะได้เรียนรู้ถึงวิธีการ รับ-ส่ง ข้อมูล PLC ผ่านระบบการเชื่อมต่อแบบต่างๆ ซึ่งเป็นมาตรฐานระบบสื่อสารของ Mitsubishi ร่วมกับโปรแกรม MX Component โดยสามารถแสดงผลผ่านโปรแกรม Microsoft Excel ในรูปแบบแบบของ CSV ไฟล์ ในรูปแบบของข้อมูลเชิงตัวเลขและกราฟชนิดต่างๆ เพื่อให้ง่ายต่อการนำไปวิเคาระห์ต่อไป
โครงสร้างหลักสูตร |
|
---|---|
ความรู้ที่ต้องมี |
|
อุปกรณ์ที่บริษัทจัดเตรียมให้ | ชุดทดลอง PLC (FX Series , Q Series) จำนวน 16 ชุด |
เวลาในการฝึกอบรม | 9.00 – 16.30 น. (กรุณามาลงทะเบียนก่อนเวลา 30 นาที) |
จำนวนวัน | 1 วัน |
จำนวนผู้เข้าอบรม/ ครั้ง | 32คน (ผู้เข้าอบรม 2 ท่าน/1 ชุดทดลอง) |
หมายเหตุ: รายละเอียดของหลักสูตรอาจมีการเปลี่ยนแปลงโดยไม่มีการแจ้งล่วงหน้า
หลักสูตรนี้จัดทำขึ้นเพื่อให้ผู้ที่มีความสนใจศึกษา หรือผู้ใช้งานทั่วไปได้เรียนรู้ถึงหลักการเก็บข้อมูลจาก PLC ด้วยอุปกรณ์ High Speed Data Logger Module เนื่องจากเครื่องจักรที่ใช้ในการผลิตสินค้าในแต่ละขบวนการผลิตจะประกอบไปด้วยตัวแปรต่างๆ อาทิเช่น อุณหภูมิ, แรงดัน, ความชื้น และอัตราการไหล ซึ่งตัวแปรทุกตัวจำเป็นต้องมีการจดบันทึกค่าตามเวลาที่กำหนดไว้ เพื่อนำข้อมูลที่ได้กลับไปวิเคราะห์สำหรับใช้เป็นแนวทางในการออกแบบการผลิต หรือการทำ PM (Preventive Maintenance) ให้กับเครื่องจักร ซึ่งอุปกรณ์ High Speed Data Logger Module จะสามารถตอบโจทย์การใช้งานนี้ได้อย่างลงตัว
ในหลักสูตรนี้ผู้เข้าฝึกอบรมจะได้เรียนรู้ถึงวิธีการติดต่อสื่อสารในระบบเครือข่ายแบบ Ethernet, การใช้งานฟังก์ชั่น Logging สำหรับการเก็บบันทึกค่าตัวแปรด้วยอุปกรณ์ High Speed Data Logger Module รวมถึงการแสดงผลข้อมูลที่ถูกเก็บเชิงตัวเลข สถิติ และกราฟ เพื่อให้ง่ายต่อการนำไปวิเคาระห์ต่อไป
โครงสร้างหลักสูตร |
|
---|---|
ความรู้ที่ต้องมี |
|
อุปกรณ์ที่บริษัทจัดเตรียมให้ | ชุดทดลอง PLC (Q-Series) และ QD81DL96จำนวน 6ชุด |
เวลาในการฝึกอบรม | 9.00 – 16.30 น. (ลงทะเบียน 8.30 น.) |
จำนวนวัน | 1 วัน |
จำนวนผู้เข้าอบรม/ ครั้ง | 12คน (ผู้เข้าอบรม 2 ท่าน/1 ชุดทดลอง) |
หมายเหตุ: รายละเอียดของหลักสูตรอาจมีการเปลี่ยนแปลงโดยไม่มีการแจ้งล่วงหน้า
หลักสูตรนี้จัดทำขึ้นเพื่อให้ผู้ที่มีความสนใจศึกษาหรือผู้ใช้งานทั่วไปได้เรียนรู้ถึงหลักการนำ PLC มาใช้ในระบบเครือข่ายด้วยการเชื่อมโยงระดับ (Control Level Network) หรือเป็นระบบเครือข่ายที่เรียกว่า CC-Link IE Control เนื่องจากในปัจจุบันระบบการผลิตสินค้าแบบอัตโนมัติในโรงงานอุตสาหกรรมส่วนใหญ่ต้องอาศัยการทำงานที่สอดคล้องกันในแต่ละขบวนการผลิต ดังนั้นจึงมีความจำเป็นที่จะต้องนำอุปกรณ์ PLC ในแต่ละขบวนการผลิตมาทำการเชื่อมโยงกันเป็นระบบเครือข่ายสำหรับทำการส่งผ่านข้อมูล ด้วยความเร็ว สูงถึง 1 GB เพื่อให้ระบบการผลิตมีประสิทธิภาพที่สูงขึ้น อีกทั้งระบบเครือข่ายแบบ CC-Link IE Control ยังเป็นระบบเครือข่ายที่ได้มาตราฐาน สะดวกต่อการใช้งาน มีความน่าเชื่อถือและง่ายต่อการตรวจสอบเมื่อมีปัญหาเกิดขึ้น
ในหลักสูตรนี้ผู้เข้าฝึกรอบรมจะได้เรียนรู้ถึงหลักการของระบบเครือข่ายแบบ CC-Link IE Control ซึ่งสามารถติดต่อสื่อสารระหว่าง PLC Mitsubishi รวมถึงการตั้งค่า PLC Parameter และทดลองการเขียนโปรแกรมเพื่อ ส่ง-รับ ข้อมูลระหว่าง PLC ในระบบเครือข่าย นอกจากนี้ผู้เข้าฝึกอบรมยังได้เรียนรู้วิธีการปรับปรุงระบบเครือข่ายแบบเก่าให้ทันสมัยกับปัจจุบัน รวมถึงวิธีการเพิ่มประสิทธิภาพของระบบเครือข่ายให้สูงขึ้นอีกด้วย
โครงสร้างหลักสูตร |
|
---|---|
ความรู้ที่ต้องมี |
|
อุปกรณ์ที่บริษัทจัดเตรียมให้ | ชุดทดลอง PLC (A-Series และ Q-Series) และ MelsecNetจำนวน 8ชุด |
เวลาในการฝึกอบรม | 9.00 – 16.30 น. (ลงทะเบียน 8.30 น.) |
จำนวนวัน | 2 วัน |
จำนวนผู้เข้าอบรม/ ครั้ง | 16คน (ผู้เข้าอบรม 2 ท่าน/1 ชุดทดลอง) |
หมายเหตุ: รายละเอียดของหลักสูตรอาจมีการเปลี่ยนแปลงโดยไม่มีการแจ้งล่วงหน้า
หลักสูตรนี้จัดทำขึ้นเพื่อให้ผู้ที่มีความสนใจศึกษาหรือผู้ใช้งานทั่วไปได้เรียนรู้ถึงหลักการซ่อมบำรุงรักษาอุปกรณ์ Servo motor เนื่องจากในปัจจุบันระบบการผลิตในโรรงงานอุตสาหกรรมส่วนใหญ่ได้นำเครื่องจักรที่มีอุปกรณ์ Servo motor เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในขบวนการผลิตสินค้า เนื่องจากมีความแม่นยำและมีประสิทธิสูง ดังนั้นเมื่อเกิดความเสียหายขึ้นกับตัวอุปกรณ์ Servo motor ผู้ใช้จึงควรทราบถึงวิธีการดูแลรักษาและการซ่อมบำรุงที่ถูกต้องด้วย
ในหลักสูตรนี้ผู้เข้าฝึกอบรมจะได้เรียนรู้ถึงหลักการติดตั้งอุปกรณ์ Servo motor รวมถึงข้อพึงระวังในการใช้งาน ตลอดจนการตั้งค่าพารามิเตอร์ ให้เหมาะสมกับประเภทของงานในลักษณะต่างๆ ทั้งยังได้เรียนรู้ถึงหลักการวิเคราะห์ปัญหาและการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นกับอุปกรณ์ Servo motor อีกด้วย
โครงสร้างหลักสูตร |
|
---|---|
ความรู้ที่ต้องมี |
|
อุปกรณ์ที่บริษัทจัดเตรียมให้ | ชุดทดลอง CC-Link IE Field (PLC Q-Series) จำนวน 6 ชุด |
เวลาในการฝึกอบรม | 9.00 – 16.30 น. (กรุณามาลงทะเบียนก่อนเวลา 30 นาที) |
จำนวนวัน | 2 วัน |
จำนวนผู้เข้าอบรม/ ครั้ง | 12 คน ( ผู้เข้าอบรม 2 ท่าน/ 1 ชุดทดลอง ) |
หมายเหตุ: รายละเอียดของหลักสูตรอาจมีการเปลี่ยนแปลงโดยไม่มีการแจ้งล่วงหน้า
หลักสูตรนี้จัดทำขึ้นเพื่อให้ผู้ที่มีความสนใจศึกษา หรือผู้ใช้งานทั่วไปได้เรียนรู้ถึงหลักการนำ PLC มาใช้ในการควบคุมอุปกรณ์ภายนอกแบบระยะไกล (Remote Station) ด้วยระบบการเชื่อมโยงระดับ (Device Level Network) หรือเป็นระบบเครือข่ายที่เรียกว่า CC-Link ซึ่งเป็นระบบการควบคุมที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน เนื่องจากสามารถลดต้นทุนในด้านการ Wiring ทั้งยังเป็นระบบที่ได้มาตราฐาน มีความน่าเชื่อถือและง่ายต่อการตรวจสอบเมื่อมีปัญหาเกิดขึ้น
ในหลักสูตรนี้ผู้เข้าฝึกอบรมจะได้เรียนรู้หลักการควบคุมระยะไกลด้วยระบบเครือข่ายพื้นฐานแบบ CC-Link, การทดลองเขียนโปรแกรมสำหรับควบคุมการทำงานและการตั้งค่า PLC Parameter เพื่อให้สามารถใช้งานร่วมกับอุปกรณ์ภายนอกแบบ Remote Input/Output, Remote Device ทั้งชนิด Digital และ Analog, รวมถึงการสื่อสารข้อมูลระหว่าง PLC ด้วยกันแบบ Local นอกจากนี้ผู้เข้าฝึกอบรมยังได้เรียนรู้หลักการตรวจหาสาเหตุเบื้องต้นเมื่อระบบ CC-Link ทำงานผิดพลาดอีกด้วย
โครงสร้างหลักสูตร |
|
---|---|
ความรู้ที่ต้องมี |
|
อุปกรณ์ที่บริษัทจัดเตรียมให้ | ชุดทดลอง PLC Q-Series และ CC-Link จำนวน 9ชุด |
เวลาในการฝึกอบรม | 9.00 – 16.30 น. (ลงทะเบียน 8.30 น.) |
จำนวนวัน | 2 วัน |
จำนวนผู้เข้าอบรม/ ครั้ง | 18 คน (ผู้เข้าอบรม 2 ท่าน/1 ชุดทดลอง) |
หมายเหตุ: รายละเอียดของหลักสูตรอาจมีการเปลี่ยนแปลงโดยไม่มีการแจ้งล่วงหน้า
หลักสูตรนี้จัดทำขึ้นเพื่อให้ผู้ที่มีความสนใจศึกษาหรือผู้ใช้งานทั่วไปได้เรียนรู้ถึงหลักการนำ Servo Motor มาใช้กับ PLC รุ่น Q-Series ในการควบคุมการทำงานแบบ Motion Control ซึ่งการใช้งานในลักษณะดังกล่าวกำลังได้รับความนิยมมากในโรงงานอุตสาหกรรมปัจจุบันเนื่องจากมีความละเอียด แม่นยำสูง และสามารถทำงานที่สลับซับซ้อนมากกว่าการควบคุม Servo Motor แบบปกติทั่วไป ดังนั้นเครื่องจักรส่วนใหญ่ในปัจจุบันจึงหันมาใช้รูปแบบการควบคุมชนิดนี้มากขึ้น
ในหลักสูตรนี้ผู้เข้าฝึกอบรมจะได้เรียนรู้ถึงทฤษฎีการควบคุม Servo Motor ด้วยระบบ Motion Control ขั้นพื้นฐาน รวมถึงการใช้งานโปรแกรม MT Developer ตลอดจนการเขียนโปรแกรมเพื่อควบคุมการทำงาน นอกจากนั้นผู้เข้าฝึกอบรมยังได้เรียนรู้ถึงการตรวจสอบและวิเคราะห์ปัญหาที่เกิดขึ้นจากการทดสอบในการปฏิบัติงานจริงอีกด้วย
โครงสร้างหลักสูตร |
|
---|---|
ความรู้ที่ต้องมี |
|
อุปกรณ์ที่บริษัทจัดเตรียมให้ | ชุดทดลอง Motion Controller (Q-Series) จำนวน 4ชุด |
เวลาในการฝึกอบรม | 9.00 – 16.30 น. (ลงทะเบียน 8.30 น.) |
จำนวนวัน | 3 วัน |
จำนวนผู้เข้าอบรม/ ครั้ง | 8 คน (ผู้เข้าอบรม 2 ท่าน/1 ชุดทดลอง) |
หมายเหตุ: รายละเอียดของหลักสูตรอาจมีการเปลี่ยนแปลงโดยไม่มีการแจ้งล่วงหน้า
หลักสูตรนี้จัดทำขึ้นเพื่อให้ผู้ที่มีความสนใจศึกษาหรือผู้ใช้งานทั่วไปได้เรียนรู้ถึงหลักการใช้งาน Servo Motor เนื่องจากเครื่องจักรที่ใช้ผลิตสินค้าในปัจจุบันต้องการความละเอียดและความแม่นยำสูง เพื่อให้สินค้าที่ผลิตออกมาไม่เกิดของเสีย (Zero Defreg) ดังนั้นเครื่องจักรส่วนใหญ่ในปัจจุบันจะใช้ Servo Motor ซึ่งเป็นระบบการควบคุมแบบปิด (Closed-Loop Control ) ซึ่งจะมีข้อดีในเรื่องของความแม่นยำสูงและยังสามารถตอบสนองการทำงานได้อย่างรวดเร็ว นอกจากนั้นแล้ว Servo Motor ยังประยุกต์ใช้งานในการควบคุมแบบอื่นๆได้อีก อาทิเช่น การควบคุมความเร็ว, การปรับแต่งอัตราเร่ง, การควบคุมแรงบิดและการควบคุมตำแหน่ง เป็นต้น
ในหลักสูตรนี้ผู้เข้าฝึกอบรมจะได้เรียนรู้ถึงทฤษฎีการนำ PLC มาใช้ในการควบคุม Servo Motor, การเลือกใช้งาน Servo Motor และ Servo Amplifier ให้เหมาะสมกับชนิดงาน รวมถึงวิธีการต่อสายสัญญาณแบบต่างๆและการแสดงสถานะการทำงานของ Servo Motor นอกจากนั้นผู้เข้าฝึกอบรมยังได้เรียนรู้ถึงการเขียนโปรแกรมสำหรับการปฏิบัติงานจริงอีกด้วย
โครงสร้างหลักสูตร |
|
---|---|
ความรู้ที่ต้องมี |
|
อุปกรณ์ที่บริษัทจัดเตรียมให้ | ชุดทดลอง Servo (MRJ4) และ PLC (FX3U)จำนวน 10ชุด |
เวลาในการฝึกอบรม | 9.00 – 16.30 น. (ลงทะเบียน 8.30 น.) |
จำนวนวัน | 2 วัน |
จำนวนผู้เข้าอบรม/ ครั้ง | 20คน (ผู้เข้าอบรม 2 ท่าน/1 ชุดทดลอง) |
หมายเหตุ: รายละเอียดของหลักสูตรอาจมีการเปลี่ยนแปลงโดยไม่มีการแจ้งล่วงหน้า
หลักสูตรนี้จัดทำขึ้นเพื่อให้ผู้ที่มีความสนใจศึกษาหรือผู้ใช้งานทั่วไปได้เรียนรู้ถึงหลักการซ่อมบำรุงรักษาอุปกรณ์ Servo motor เนื่องจากในปัจจุบันระบบการผลิตในโรรงงานอุตสาหกรรมส่วนใหญ่ได้นำเครื่องจักรที่มีอุปกรณ์ Servo motor เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในขบวนการผลิตสินค้า เนื่องจากมีความแม่นยำและมีประสิทธิสูง ดังนั้นเมื่อเกิดความเสียหายขึ้นกับตัวอุปกรณ์ Servo motor ผู้ใช้จึงควรทราบถึงวิธีการดูแลรักษาและการซ่อมบำรุงที่ถูกต้องด้วย
ในหลักสูตรนี้ผู้เข้าฝึกอบรมจะได้เรียนรู้ถึงหลักการติดตั้งอุปกรณ์ Servo motor รวมถึงข้อพึงระวังในการใช้งาน ตลอดจนการตั้งค่าพารามิเตอร์ ให้เหมาะสมกับประเภทของงานในลักษณะต่างๆ ทั้งยังได้เรียนรู้ถึงหลักการวิเคราะห์ปัญหาและการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นกับอุปกรณ์ Servo motor อีกด้วย
โครงสร้างหลักสูตร |
|
---|---|
ความรู้ที่ต้องมี |
|
อุปกรณ์ที่บริษัทจัดเตรียมให้ | ชุดทดลอง P.M Servo motor จำนวน 5 ชุด |
เวลาในการฝึกอบรม | 9.00 – 16.30 น. (กรุณามาลงทะเบียนก่อนเวลา 30 นาที) |
จำนวนวัน | 1 วัน |
จำนวนผู้เข้าอบรม/ ครั้ง | 10 คน ( ผู้เข้าอบรม 2 ท่าน/ 1 ชุดทดลอง ) |
หมายเหตุ: รายละเอียดของหลักสูตรอาจมีการเปลี่ยนแปลงโดยไม่มีการแจ้งล่วงหน้า
หลักสูตรนี้จัดทำขึ้นเพื่อให้ผู้ที่มีความสนใจศึกษา หรือผู้ใช้งานทั่วไปได้เรียนรู้ถึงหลักการควบคุมความเร็วมอเตอร์และการประยุกต์ใช้งานโดยใช้อุปกรณ์ Inverter ซึ่งปัจจุบันนิยมใช้กันอย่างแพร่หลายในแวดวงอุตสาหกรรม เนื่องจากใช้งานง่าย มีให้เลือกหลายแบบตามชนิดการใช้งาน มีประสิทธิภาพสูง นอกจากนี้ยังสามารถช่วยประหยัดพลังงานอีกด้วย
ในหลักสูตรนี้ผู้เข้าฝึกอบรมจะได้เรียนรู้ถึงทฤษฎีการควบคุมความเร็วมอเตอร์ด้วย Inverter ขั้นพื้นฐาน, การเลือกชนิดของ Inverter ให้เหมาะสมกับประเภทงาน, การปรับตั้งค่า Parameter และการทดสอบงานจริงด้วยอุปกรณ์ของจริง
โครงสร้างหลักสูตร |
|
---|---|
ความรู้ที่ต้องมี |
|
อุปกรณ์ที่บริษัทจัดเตรียมให้ | ชุดทดลอง Inverter (A800) จำนวน 8ชุด |
เวลาในการฝึกอบรม | 9.00 – 16.30 น. (ลงทะเบียน 8.30 น.) |
จำนวนวัน | 1 วัน |
จำนวนผู้เข้าอบรม/ ครั้ง | 14 คน (ผู้เข้าอบรม 2 ท่าน/1 ชุดทดลอง) |
หมายเหตุ: รายละเอียดของหลักสูตรอาจมีการเปลี่ยนแปลงโดยไม่มีการแจ้งล่วงหน้า
หลักสูตรนี้จัดทำขึ้นเพื่อให้ผู้ที่มีความสนใจศึกษาหรือผู้ใช้งานทั่วไปได้เรียนรู้ถึงหลักการใช้งาน Inverter ในระดับที่สูงขึ้น เนื่องจากในปัจจุบัน Inverter รุ่นใหม่ได้มีการพัฒนาฟังก์ชั่นการใช้งานให้มีความสะดวกและเหมาะสมกับความต้องการของผู้ใช้งานมากขึ้น อีกทั้งยังสามารถเพิ่มประสิทธิภาพในด้านของการลดค่าใช้จ่ายในด้านของการประหยัดพลังงานมากกว่าเดิมอีกด้วย
ในหลักสูตรนี้ผู้เข้าฝึกอบรมจะได้เรียนรู้ถึงหลักการใช้งานฟังก์ชั่น PLC ในอุปกรณ์ Inverter รุ่น A800 และได้รับความรู้ในการตั้งค่าพารามิเตอร์ ให้เหมาะสมกับลักษณะการใช้งานในฟังก์ชั่นดังกล่าว อีกทั้งยังได้เรียนรู้ถึงหลักการเขียนโปรแกรมแลดเดอร์ลงในตัวอุปกรณ์ Inverter เพื่อควบคุมความเร็วของมอเตอร์ผ่านซอฟ์แวร์ FR-Configurator2
โครงสร้างหลักสูตร |
|
---|---|
ความรู้ที่ต้องมี |
|
อุปกรณ์ที่บริษัทจัดเตรียมให้ | ชุดทดลอง Inverter รุ่น A800 8 ชุด |
เวลาในการฝึกอบรม | 9.00 – 16.30 น. (กรุณามาลงทะเบียนก่อนเวลา 30 นาที) |
จำนวนวัน | 1 วัน |
จำนวนผู้เข้าอบรม/ ครั้ง | 16 คน ( ผู้เข้าอบรม 2 ท่าน/ 1 ชุดทดลอง ) |
หมายเหตุ: รายละเอียดของหลักสูตรอาจมีการเปลี่ยนแปลงโดยไม่มีการแจ้งล่วงหน้า
หลักสูตรนี้จัดทำขึ้นเพื่อให้ผู้ที่มีความสนใจศึกษาหรือผู้ใช้งานทั่วไปได้เรียนรู้ถึงหลักการซ่อมบำรุงรักษาอุปกรณ์ Inverter เนื่องจากในปัจจุบันระบบการผลิตในโรรงงานอุตสาหกรรมได้นำอุปกรณ์ Inverter เข้ามาใช้ในการควบคุมความเร็วมอเตอร์เนื่องจากมีประสิทธิภาพสูงทั้งยังสามารถลดค่าใช้จ่ายในด้านของการประหยัดพลังงาน ดังนั้นเมื่อเกิดความเสียหายขึ้นกับตัวอุปกรณ์ Inverter ผู้ใช้จึงควรทราบถึงวิธีการดูแลรักษาและการซ่อมบำรุงที่ถูกต้องด้วย
ในหลักสูตรนี้ผู้เข้าฝึกอบรมจะได้เรียนรู้ถึงหลักการตรวจเช็คการทำงานและการซ่อมบำรุงรักษาอุปกรณ์ Inverter รวมถึงข้อพึงระวังในการใช้งาน ตลอดจนการตั้งค่าพารามิเตอร์ Inverter ให้เหมาะสมกับประเภทของงานในลักษณะต่างๆ ทั้งยังได้เรียนรู้ถึงหลักการวิเคราะห์ปัญหาและการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นกับอุปกรณ์ Inverter อีกด้วย
โครงสร้างหลักสูตร |
|
---|---|
ความรู้ที่ต้องมี |
|
อุปกรณ์ที่บริษัทจัดเตรียมให้ | ชุดทดลอง Inverter 5 ชุด |
เวลาในการฝึกอบรม | 9.00 – 16.30 น. (กรุณามาลงทะเบียนก่อนเวลา 30 นาที) |
จำนวนวัน | 1 วัน |
จำนวนผู้เข้าอบรม/ ครั้ง | 10 คน ( ผู้เข้าอบรม 2 ท่าน/ 1 ชุดทดลอง ) |
หมายเหตุ: รายละเอียดของหลักสูตรอาจมีการเปลี่ยนแปลงโดยไม่มีการแจ้งล่วงหน้า
หลักสูตรนี้จัดทำขึ้นเพื่อให้ผู้ที่มีความสนใจศึกษาหรือผู้ใช้งานทั่วไปได้เรียนรู้ถึงหลักการใช้งาน GOT ซึ่งเป็นอุปกรณ์ HMI (Human Machine Interface) ที่ได้รับการยอมรับและมีความนิยมสูงสุดในปัจจุบันนี้ เนื่องจากเครื่องจักรสมัยใหม่ในปัจจุบันได้นำอุปกรณ์ HMI มาใช้ในการควบคุมแทนอุปกรณ์ประเภท Input และ Output โดยมีการนำมาใช้กันอย่างแพร่หลายในโรงงานอุตสาหกรรม เนื่องจากสามารถใช้งานได้อย่างสะดวก, มีความน่าเชื่อถือ, ราคาถูกและดูแลรักษาง่าย
ในหลักสูตรนี้ผู้เข้าฝึกอบรมจะได้เรียนรู้หลักการทำงานของอุปกรณ์ HMI, ประเภทของ GOT, การเลือกใช้ GOT ให้เหมาะสมกับงาน, การสื่อสารข้อมูลระหว่าง PLC กับ GOT ในแบบต่างๆ รวมถึงการออกแบบและการสร้างหน้าจอ GOT ด้วยโปรแกรม GT Designer 3 นอกจากนี้ผู้เข้าฝึกอบรมยังได้เรียนรู้ถึงวิธีการแก้ไขปัญหาเบื้องต้นเมื่อ GOT อยู่ในสภาวะการทำงานที่ผิดปกติ รวมถึงหลักการปรับปรุง GOT จากรุ่นเก่าให้เป็นรุ่นใหม่อีกด้วย
โครงสร้างหลักสูตร |
|
---|---|
ความรู้ที่ต้องมี |
|
อุปกรณ์ที่บริษัทจัดเตรียมให้ | ชุดทดลอง PLC (FX-Series ,L-Series) และ GOT จำนวน 16 ชุด |
เวลาในการฝึกอบรม | 9.00 – 16.30 น. (ลงทะเบียน 8.30 น.) |
จำนวนวัน | 2 วัน |
จำนวนผู้เข้าอบรม/ ครั้ง | 32 คน (ผู้เข้าอบรม 2 ท่าน/1 ชุดทดลอง) |
หมายเหตุ: รายละเอียดของหลักสูตรอาจมีการเปลี่ยนแปลงโดยไม่มีการแจ้งล่วงหน้า
หลักสูตรนี้จัดทำขึ้นเพื่อให้ผู้ที่มีความสนใจศึกษาหรือผู้ใช้งานทั่วไปได้เรียนรู้ถึงหลักการใช้งาน HMI ในระดับที่สูงขึ้น เนื่องจากปัจจุบันการผลิตสินค้าในโรงงานอุตสาหกรรมได้นิยมนำ HMI มาใช้ในระบบการควบคุมการผลิตที่มีความต่อเนื่องและซับซ้อนมากขึ้น ดังนั้น HMI รุ่นใหม่ได้มีการพัฒนาฟังก์ชั่นการใช้งานเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ได้อย่างเหมาะสมและสอดคล้องกับความต้องการของผูใช้งาน โดยฟังก์ชั่นการใช้งานดังกล่าวนี้จะอยู่นอกเหนือจากการใช้งานฟังก์แบบปกติทั่วไป
ในหลักสูตรนี้ผู้เข้าฝึกอบรมจะได้เรียนรู้ถึงหลักการใช้งานฟังก์ชั่นพิเศษบนอุปกรณ์ HMI รุ่น GOT2000 และได้รับความรู้ในการเลือกรุ่น GOT2000 ให้เหมาะสมและสอดคล้องกับลักษณะงาน นอกจากนี้ยังได้เรียนรู้ถึงหลักการเชื่อมต่อระหว่าง PLC กับ GOT2000 ผ่านระบบโครงข่าย พร้อมด้วยหลักการออกแบบหน้าจอด้วยด้วยซอฟแวร์ GT Designer 3
โครงสร้างหลักสูตร |
|
---|---|
ความรู้ที่ต้องมี |
|
อุปกรณ์ที่บริษัทจัดเตรียมให้ | ชุดทดลอง PLC และ GOT 7 ชุด |
เวลาในการฝึกอบรม | 9.00 – 16.30 น. (กรุณามาลงทะเบียนก่อนเวลา 30 นาที) |
จำนวนวัน | 2 วัน |
จำนวนผู้เข้าอบรม/ ครั้ง | 14 คน ( ผู้เข้าอบรม 2 ท่าน/ 1 ชุดทดลอง ) |
หมายเหตุ: รายละเอียดของหลักสูตรอาจมีการเปลี่ยนแปลงโดยไม่มีการแจ้งล่วงหน้า
หลักสูตรนี้จัดทำขึ้นเพื่อให้ผู้ที่มีความสนใจศึกษาหรือผู้ใช้งานทั่วไปได้เรียนรู้ถึงโครงสร้างพื้นฐานการทำงานของระบบ SCADA (Supervisory Control And Data Acquisition) ซึ่งเป็นระบบที่ใช้ในการบริหารจัดการด้านต้นทุนและการปรับปรุงคุณภาพการผลิตสินค้าภายในโรงงานอุตสากรรมในปัจจุบัน โดยระบบ SCADA นี้สามารถทำการจัดเก็บข้อมูลจากขบวนการผลิตเพื่อนำไปแสดงผลแบบ Real Time อีกทั้งยังสามารถทำการวิเคราะห์ข้อมูลแบบย้อนกลับเพื่อหาสาเหตุผิดปกติที่เกิดขึ้นจากขบวนการผลิตได้
ในหลักสูตรนี้ผู้เข้าฝึกอบรมจะได้เรียนรู้ถึงหลักการทำงานพื้นฐานของระบบ SCADA รวมถึงได้ฝึกหัดออกแบบการสร้างหน้าจอกราฟฟิกในรูปแบบต่างๆ ทั้งยังได้เรียนรู้ถึงวิธีการแสดงผลการแจ้งเตือนแบบ Alarm และวิธีการสร้างกราฟแสดงแนวโน้มการทำงาน (Trend Graph) ด้วยซแฟแวร์ MC Works64 นอกเหนือจากนี้ผู้เข้าฝึกอบรมยังจะได้เรียนรู้ถึงหลักการเชื่อมต่อระบบ SCADA กับ PLC ผ่านซอฟแวร์ MX-OPC Server อีกด้วย
โครงสร้างหลักสูตร |
|
---|---|
ความรู้ที่ต้องมี |
|
อุปกรณ์ที่บริษัทจัดเตรียมให้ | ชุดทดลอง PLC (Q-Series) จำนวน 7 ชุด |
เวลาในการฝึกอบรม | 9.00 – 16.30 น. (กรุณามาลงทะเบียนก่อนเวลา 30 นาที) |
จำนวนวัน | 2 วัน |
จำนวนผู้เข้าอบรม/ ครั้ง | 14 คน ( ผู้เข้าอบรม 2 ท่าน/ 1 ชุดทดลอง ) |
หมายเหตุ: รายละเอียดของหลักสูตรอาจมีการเปลี่ยนแปลงโดยไม่มีการแจ้งล่วงหน้า