สนับสนุน

การฝึกอบรม

เราให้บริการฝึกอบรมทั้งแบบภายในและนอกสถานที่ มีหลักสูตรการฝึกอบรมที่ได้มาตรฐานมากกว่า 10 หลักสูตร มีจำนวนการฝึกอบรมมากกว่า 100 ครั้งต่อปี ซึ่งหลักสูตรการฝึกอบรมทั้งหมดนี้จะครอบคลุมความรู้ตั้งแต่ระดับพื้นฐานจนถึงระดับสูง ทั้งนี้ทางบริษัทยังมีห้องฝึกอบรมที่สามารถรองรับผู้เข้าฝึกอบรมได้มากกว่า 22 ท่าน โดยผู้เข้าฝึกอบรมจะได้ทดลองการใช้งานจริงด้วยอุปกรณ์และชุดทดลองที่ทันสมัยต่อเทคโนโลยีในปัจจุบัน อีกทั้งทางบริษัทยังจำกัดผู้เข้าฝึกอบรม จำนวน 2 ท่านต่อชุดทดลอง 1 ชุด ซึ่งส่งผลให้ผู้เข้าฝึกอบรมสามารถทำการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

ด้านทีมวิทยากรฝึกอบรมของทางบริษัทมิตซูบิชินั้น เป็นผู้มีประสบการณ์ด้านการสอนและการปฏิบัติงานจริง อีกทั้งยังผ่านหลักสูตรการฝึกอบรมโดยตรงจากบริษัทมิตซูบิชิที่ประเทศญี่ปุ่น ทำให้ผู้เข้าฝึกอบรมสามารถมั่นใจได้ว่า เนื้อหา ความรู้ ตลอดจนเทคนิคการแก้ปัญหาและประสบการณ์ต่างๆ จะสามารถถ่ายทอดสู่ผู้เข้าฝึกอบรมได้อย่างครบถ้วนและสามารถนำความรู้ที่ได้รับกลับไปประยุกต์ใช้กับงานของตนเองได้อย่างถูกต้อง

ปฏิทินการฝึกอบรม

สำหรับรายละเอียด กรุณาดูที่ปฏิทินการฝึกอบรม
ปฏิทินการฝึกอบรม

PLC ขั้นพื้นฐาน(PLC101-MELFT13)

หลักสูตรนี้จัดทำขึ้นสำหรับผู้เริ่มต้นซึ่งสนใจเรียนรู้เกี่ยวกับอุปกรณ์การควบคุมแบบอัตโนมัติ PLC โดยที่ผู้เข้าฝึกอบรมจะได้รับความรู้เกี่ยวกับหลักการทำงานรวมถึงวิธีการเลือกใช้งาน PLC ให้เหมาะสมกับประเภทของงาน ตลอดจนการทดลองเขียนโปรแกรมเพื่อควบคุมการทำงานของ PLC นอกจากนี้ผู้เข้าฝึกอบรมยังได้เรียนรู้ถึงวิธีการตรวจสอบและการแก้ไขปัญหาง่ายๆด้วยตัวเองเมื่ออุปกรณ์ PLC เกิดปัญหาต่างๆขึ้น

ในหลักสูตรนี้ผู้เข้าฝึกอบรมจะได้เรียนรู้และทดลองการใช้งานกับอุปกรณ์จริง ซึ่งถือเป็นโอกาสอันดีสำหรับผู้เข้าฝึกอบรมที่จะได้รับความรู้รวมถึงประสบการณ์ตรงจากอุปกรณ์จริง อีกทั้งยังได้ฝึกหัดการออกแบบโปรแกรมสำหรับควบคุมการทำงานของเครื่องจักรแบบง่ายๆ รวมทั้งการซ่อมบำรุงรักษาเชิงป้องกัน PM (Preventive Maintenance) PLC เบื้องต้นอีกด้วย

โครงสร้างหลักสูตร
  1. ความเป็นมา และการทำงานของ PLC
  2. หลักการพื้นฐาน โครงสร้าง และประเภทของ PLC
  3. วิธีการเลือกใช้ PLC ให้เหมาะสม
  4. ขั้นตอนการใช้งาน PLC
  5. การออกแบบ และเขียนโปรแกรม PLC
  6. อุปกรณ์ PLC ขั้นพื้นฐาน (Input, Output, Internal Relay, Timer, Counter)
  7. การใช้งานโปรแกรม GX Works2
    • การติดตั้งโปรแกรม
    • คำสั่งพื้นฐาน และคำสั่งขั้นสูง
    • การอ่านและเขียนโปรแกรมเข้าสู่ PLC
    • การตรวจสอบการทำงานของ PLC
    • ความรู้พื้นฐาน
ความรู้ที่ต้องมี
  1. มีความรู้พื้นฐานด้านไฟฟ้า หรือระบบวัดคุม
  2. มีความรู้พื้นฐานคอมพิวเตอร์ และภาษาอังกฤษ
อุปกรณ์ที่บริษัทจัดเตรียมให้ ชุดทดลอง PLC (FX Series และ Q Series) จำนวน 16 ชุด
เวลาในการฝึกอบรม 9.00 – 16.30 น. (ลงทะเบียน 8.30 น.)
จำนวนวัน 2 วัน
จำนวนผู้เข้าอบรม/ ครั้ง 32 คน (ผู้เข้าอบรม 2 ท่าน/1 ชุดทดลอง)

หมายเหตุ: รายละเอียดของหลักสูตรอาจมีการเปลี่ยนแปลงโดยไม่มีการแจ้งล่วงหน้า

PLC ขั้นสูง (PLC201-MELFT13)

หลักสูตรนี้จัดทำขึ้นเพื่อให้ผู้ที่มีความสนใจศึกษาหรือผู้ใช้งานทั่วไป ได้เรียนรู้ถึงการใช้งาน PLC ในระดับที่สูงขึ้น เนื่องจากในปัจจุบันนี้เครื่องจักรในโรงงานอุตสาหกรรมถูกออกแบบฟังก์ชั่นการควบคุมที่มีความซับซ้อนมากขั้น รวมทั้งมีการใช้คำสั่งในการเขียนโปรแกรม PLC ที่นอกเหนือจากการใช้คำสั่งพื้นฐานทั่วไป ในหลักสูตรนี้ผู้เข้าฝึกอบรมจะได้เรียนรู้ถึงการเขียนโปรแกรม PLC โดยใช้คำสั่งขั้นสูง และคำสั่งพิเศษเฉพาะใน PLC ในแต่ละรุ่น รวมถึงการใช้งาน PLC ร่วมกับโมดูลพิเศษชนิดอื่นๆ

ในหลักสูตรนี้ผู้เข้าฝึกอบรมจะได้เรียนรู้ถึงหลักการเขียนโปรแกรม PLC โดยใช้คำสั่งขั้นสูงรวมถึงการประยุกต์ใช้งาน PLC ร่วมกับอุปกรณ์ภายนอกแบบ Analog และ Digital ทั้งแบบ Input และ Output ทั้งนี้เพื่อช่วยให้ผู้เข้าฝึกอบรมได้เข้าใจพร้อมทั้งสามารถนำ PLC ไปประยุกต์ใช้กับงานที่มีความยากและซับซ้อนอย่างมีประสิทธิภาพ

โครงสร้างหลักสูตร
  1. Mitsubishi PLC รุ่น FX, A,Q และ L พร้อมโมดูลพิเศษ
  2. คำสั่งขั้นสูง
    • คำสั่งย้ายข้อมูลตัวเลข
    • คำสั่งแปลงรหัสตัวเลข
    • คำสั่งเปรียบเทียบตัวเลข
    • คำสั่งคำนวณตัวเลข ทั้งในแบบจำนวนเต็ม และทศนิยม
  3. เทคนิคการออกแบบโปรแกรมด้วยคำสั่งขั้นสูง
  4. การตรวจสอบความผิดปกติ และแก้ปัญหา PLC
  5. การใช้งานโมดูลพิเศษแบบ AnalogInput/Output
ความรู้ที่ต้องมี
  1. เคยผ่านการอบรม PLC ขั้นพื้นฐาน (PLC101) หรือมีความรู้พื้นฐาน PLC และสามารถใช้งานโปรแกรม GX Works2 ได้
  2. มีความรู้พื้นฐานคอมพิวเตอร์ และภาษาอังกฤษ
อุปกรณ์ที่บริษัทจัดเตรียมให้ ชุดทดลอง PLC (Q Series) จำนวน 15 ชุด
เวลาในการฝึกอบรม 9.00 – 16.30 น. (ลงทะเบียน 8.30 น.)
จำนวนวัน 3 วัน
จำนวนผู้เข้าอบรม/ ครั้ง 30 คน (ผู้เข้าอบรม 2 ท่าน/1 ชุดทดลอง)

หมายเหตุ: รายละเอียดของหลักสูตรอาจมีการเปลี่ยนแปลงโดยไม่มีการแจ้งล่วงหน้า

MX Sheet (MXS201- MELFT13)

หลักสูตรนี้จัดทำขึ้นเพื่อให้ผู้ที่มีความสนใจศึกษาหรือผู้ใช้งานทั่วไปได้เรียนรู้ถึงหลักการนำโปรแกรม Microsoft Excel มาประยุกต์ใช้กับอุปกรณ์ PLC เพื่อทำการสื่อสารข้อมูลระหว่างกัน เนื่องจากระบบการผลิตสินค้าในปัจจุบันจำเป็นต้องมีการเก็บข้อมูลการผลิตต่างๆ เช่น ของเสียจากการผลิต, จำนวนงานที่รอระหว่างการผลิต, สินค้าที่รอส่งมอบ และอื่นๆ เพื่อนำข้อมูลที่ได้ไปวิเคราะห์เพื่อวางแผนการผลิต ดังนั้นการเก็บข้อมูลดังกล่าวในปัจจุบันจึงนิยมเก็บข้อมูลแบบอัตโนมัติผ่าน PLC โดยข้อมูลที่เก็บจะถูกแสดงผลผ่านโปรแกรม Microsoft Excel ซึ่งการใช้งานในลักษณะดังกล่าวกำลังเป็นที่นิยมมากในระบบอุตสาหกรรมปัจจุบัน

ในหลักสูตรนี้ผู้เข้าฝึกอบรมจะได้เรียนรู้ถึงวิธีการ รับ-ส่ง ข้อมูล PLC ผ่านระบบการเชื่อมต่อแบบต่างๆ ซึ่งเป็นมาตรฐานระบบสื่อสารของ Mitsubishi ร่วมกับโปรแกรม MX Component โดยสามารถแสดงผลผ่านโปรแกรม Microsoft Excel ในรูปแบบแบบของ CSV ไฟล์ ในรูปแบบของข้อมูลเชิงตัวเลขและกราฟชนิดต่างๆ เพื่อให้ง่ายต่อการนำไปวิเคาระห์ต่อไป

โครงสร้างหลักสูตร
  1. ระบบการสื่อสารของ Mitsubishi PLC
  2. การใช้งานโปรแกรมMXComponentและ MX Sheet
  3. วิธีใช้งาน Microsoft Excel เพื่อรับส่งข้อมูลกับ PLC
ความรู้ที่ต้องมี
  1. ผ่านการอบรม PLC ขั้นสูง (PLC201) หรือมีความรู้เกี่ยวกับ PLC ขั้นสูง และสามารถใช้งานโปรแกรม GX Works2 ได้เป็นอย่างดี
  2. มีความรู้พื้นฐานคอมพิวเตอร์ และภาษาอังกฤษ
อุปกรณ์ที่บริษัทจัดเตรียมให้ ชุดทดลอง PLC (FX Series , Q Series) จำนวน 16 ชุด
เวลาในการฝึกอบรม 9.00 – 16.30 น. (กรุณามาลงทะเบียนก่อนเวลา 30 นาที)
จำนวนวัน 1 วัน
จำนวนผู้เข้าอบรม/ ครั้ง 32คน (ผู้เข้าอบรม 2 ท่าน/1 ชุดทดลอง)

หมายเหตุ: รายละเอียดของหลักสูตรอาจมีการเปลี่ยนแปลงโดยไม่มีการแจ้งล่วงหน้า

Data Logger (DTL301-MELFT13)

หลักสูตรนี้จัดทำขึ้นเพื่อให้ผู้ที่มีความสนใจศึกษา หรือผู้ใช้งานทั่วไปได้เรียนรู้ถึงหลักการเก็บข้อมูลจาก PLC ด้วยอุปกรณ์ High Speed Data Logger Module เนื่องจากเครื่องจักรที่ใช้ในการผลิตสินค้าในแต่ละขบวนการผลิตจะประกอบไปด้วยตัวแปรต่างๆ อาทิเช่น อุณหภูมิ, แรงดัน, ความชื้น และอัตราการไหล ซึ่งตัวแปรทุกตัวจำเป็นต้องมีการจดบันทึกค่าตามเวลาที่กำหนดไว้ เพื่อนำข้อมูลที่ได้กลับไปวิเคราะห์สำหรับใช้เป็นแนวทางในการออกแบบการผลิต หรือการทำ PM (Preventive Maintenance) ให้กับเครื่องจักร ซึ่งอุปกรณ์ High Speed Data Logger Module จะสามารถตอบโจทย์การใช้งานนี้ได้อย่างลงตัว

ในหลักสูตรนี้ผู้เข้าฝึกอบรมจะได้เรียนรู้ถึงวิธีการติดต่อสื่อสารในระบบเครือข่ายแบบ Ethernet, การใช้งานฟังก์ชั่น Logging สำหรับการเก็บบันทึกค่าตัวแปรด้วยอุปกรณ์ High Speed Data Logger Module รวมถึงการแสดงผลข้อมูลที่ถูกเก็บเชิงตัวเลข สถิติ และกราฟ เพื่อให้ง่ายต่อการนำไปวิเคาระห์ต่อไป

โครงสร้างหลักสูตร
  1. หลักการทำงานของโมดูล Data Logger รุ่น Q-Series
  2. การใช้งานฟังก์ชั่น Logging
ความรู้ที่ต้องมี
  1. ผ่านการอบรม PLC ขั้นสูง (PLC201) หรือมีความรู้เกี่ยวกับ PLC ขั้นสูง และสามารถใช้งานโปรแกรม GX Works2 ได้เป็นอย่างดี
  2. มีความรู้พื้นฐานคอมพิวเตอร์ และภาษาอังกฤษ
  3. สามารถใช้งานโปรแกรม Microsoft Excel ได้
อุปกรณ์ที่บริษัทจัดเตรียมให้ ชุดทดลอง PLC (Q-Series) และ QD81DL96จำนวน 6ชุด
เวลาในการฝึกอบรม 9.00 – 16.30 น. (ลงทะเบียน 8.30 น.)
จำนวนวัน 1 วัน
จำนวนผู้เข้าอบรม/ ครั้ง 12คน (ผู้เข้าอบรม 2 ท่าน/1 ชุดทดลอง)

หมายเหตุ: รายละเอียดของหลักสูตรอาจมีการเปลี่ยนแปลงโดยไม่มีการแจ้งล่วงหน้า

CC Link IE Control (CCIEC301-MELFT16)

หลักสูตรนี้จัดทำขึ้นเพื่อให้ผู้ที่มีความสนใจศึกษาหรือผู้ใช้งานทั่วไปได้เรียนรู้ถึงหลักการนำ PLC มาใช้ในระบบเครือข่ายด้วยการเชื่อมโยงระดับ (Control Level Network) หรือเป็นระบบเครือข่ายที่เรียกว่า CC-Link IE Control เนื่องจากในปัจจุบันระบบการผลิตสินค้าแบบอัตโนมัติในโรงงานอุตสาหกรรมส่วนใหญ่ต้องอาศัยการทำงานที่สอดคล้องกันในแต่ละขบวนการผลิต ดังนั้นจึงมีความจำเป็นที่จะต้องนำอุปกรณ์ PLC ในแต่ละขบวนการผลิตมาทำการเชื่อมโยงกันเป็นระบบเครือข่ายสำหรับทำการส่งผ่านข้อมูล ด้วยความเร็ว สูงถึง 1 GB เพื่อให้ระบบการผลิตมีประสิทธิภาพที่สูงขึ้น อีกทั้งระบบเครือข่ายแบบ CC-Link IE Control ยังเป็นระบบเครือข่ายที่ได้มาตราฐาน สะดวกต่อการใช้งาน มีความน่าเชื่อถือและง่ายต่อการตรวจสอบเมื่อมีปัญหาเกิดขึ้น

ในหลักสูตรนี้ผู้เข้าฝึกรอบรมจะได้เรียนรู้ถึงหลักการของระบบเครือข่ายแบบ CC-Link IE Control ซึ่งสามารถติดต่อสื่อสารระหว่าง PLC Mitsubishi รวมถึงการตั้งค่า PLC Parameter และทดลองการเขียนโปรแกรมเพื่อ ส่ง-รับ ข้อมูลระหว่าง PLC ในระบบเครือข่าย นอกจากนี้ผู้เข้าฝึกอบรมยังได้เรียนรู้วิธีการปรับปรุงระบบเครือข่ายแบบเก่าให้ทันสมัยกับปัจจุบัน รวมถึงวิธีการเพิ่มประสิทธิภาพของระบบเครือข่ายให้สูงขึ้นอีกด้วย

โครงสร้างหลักสูตร
  1. ความรู้เบื้องต้นในระบบเครือข่าย PLC
  2. คุณสมบัติของ PLC และ CPU ที่เกี่ยวข้องกับระบบเครือข่ายแบบต่างๆ
  3. คุณสมบัติของระบบเครือข่าย และอุปกรณ์ที่จำเป็นต่างๆ
  4. การใช้งานระบบเครือข่าย การเลือกใช้โมดูล และการตั้งค่า Parameter ต่างๆ
  5. การตรวจสอบการทำงาน และแก้ไขปัญหาระบบเครือข่าย
  6. การเชื่อมโยงอุปกรณ์ระยะไกล (Remote I/O)
  7. เทคนิคการใช้ระบบเครือข่ายขั้นสูง
  8. เทคนิคการปรับปรุงประสิทธิภาพระบบเครือข่าย
ความรู้ที่ต้องมี
  1. ผ่านการอบรม PLC ขั้นสูง (PLC201) หรือมีความรู้เกี่ยวกับ PLC ขั้นสูง และสามารถใช้งานโปรแกรม GX Works2 ได้เป็นอย่างดี
  2. มีความรู้พื้นฐานคอมพิวเตอร์ และภาษาอังกฤษ
อุปกรณ์ที่บริษัทจัดเตรียมให้ ชุดทดลอง PLC (A-Series และ Q-Series) และ MelsecNetจำนวน 8ชุด
เวลาในการฝึกอบรม 9.00 – 16.30 น. (ลงทะเบียน 8.30 น.)
จำนวนวัน 2 วัน
จำนวนผู้เข้าอบรม/ ครั้ง 16คน (ผู้เข้าอบรม 2 ท่าน/1 ชุดทดลอง)

หมายเหตุ: รายละเอียดของหลักสูตรอาจมีการเปลี่ยนแปลงโดยไม่มีการแจ้งล่วงหน้า

CC-Link IE Field (CCIEF301-MELFT16) NEW

หลักสูตรนี้จัดทำขึ้นเพื่อให้ผู้ที่มีความสนใจศึกษาหรือผู้ใช้งานทั่วไปได้เรียนรู้ถึงหลักการซ่อมบำรุงรักษาอุปกรณ์ Servo motor เนื่องจากในปัจจุบันระบบการผลิตในโรรงงานอุตสาหกรรมส่วนใหญ่ได้นำเครื่องจักรที่มีอุปกรณ์ Servo motor เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในขบวนการผลิตสินค้า เนื่องจากมีความแม่นยำและมีประสิทธิสูง ดังนั้นเมื่อเกิดความเสียหายขึ้นกับตัวอุปกรณ์ Servo motor ผู้ใช้จึงควรทราบถึงวิธีการดูแลรักษาและการซ่อมบำรุงที่ถูกต้องด้วย

ในหลักสูตรนี้ผู้เข้าฝึกอบรมจะได้เรียนรู้ถึงหลักการติดตั้งอุปกรณ์ Servo motor รวมถึงข้อพึงระวังในการใช้งาน ตลอดจนการตั้งค่าพารามิเตอร์ ให้เหมาะสมกับประเภทของงานในลักษณะต่างๆ ทั้งยังได้เรียนรู้ถึงหลักการวิเคราะห์ปัญหาและการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นกับอุปกรณ์ Servo motor อีกด้วย

โครงสร้างหลักสูตร
  1. วิธีการใช้โปรแกรม MR-Configurator เพื่อช่วยวิเคราะห์ความผิดพลาดในการ ทำงานของ Servo motor
  2. การแก้ไขปัญหาเมื่อเกิด Alarm เบื้องต้น
  3. เทคนิคการลดปัญหาสัญญาณรบกวนในระบบ
  4. การติดตั้งและข้อพึงควรระวังในการใช้งาน
  5. ความหมายและความสำคัญของพารามิเตอร์
ความรู้ที่ต้องมี
  1. ผ่านการอบรม PLC ขั้นสูง (PLC201) หรือมีความรู้เกี่ยวกับ PLC ขั้นสูง และสามารถใช้งานโปรแกรม GX Works 2 ได้เป็นอย่างดี
  2. มีความรู้พื้นฐานคอมพิวเตอร์ และภาษาอังกฤษ
อุปกรณ์ที่บริษัทจัดเตรียมให้ ชุดทดลอง CC-Link IE Field (PLC Q-Series) จำนวน 6 ชุด
เวลาในการฝึกอบรม 9.00 – 16.30 น. (กรุณามาลงทะเบียนก่อนเวลา 30 นาที)
จำนวนวัน 2 วัน
จำนวนผู้เข้าอบรม/ ครั้ง 12 คน ( ผู้เข้าอบรม 2 ท่าน/ 1 ชุดทดลอง )

หมายเหตุ: รายละเอียดของหลักสูตรอาจมีการเปลี่ยนแปลงโดยไม่มีการแจ้งล่วงหน้า

CC-Link (CCL301-MELFT13)

หลักสูตรนี้จัดทำขึ้นเพื่อให้ผู้ที่มีความสนใจศึกษา หรือผู้ใช้งานทั่วไปได้เรียนรู้ถึงหลักการนำ PLC มาใช้ในการควบคุมอุปกรณ์ภายนอกแบบระยะไกล (Remote Station) ด้วยระบบการเชื่อมโยงระดับ (Device Level Network) หรือเป็นระบบเครือข่ายที่เรียกว่า CC-Link ซึ่งเป็นระบบการควบคุมที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน เนื่องจากสามารถลดต้นทุนในด้านการ Wiring ทั้งยังเป็นระบบที่ได้มาตราฐาน มีความน่าเชื่อถือและง่ายต่อการตรวจสอบเมื่อมีปัญหาเกิดขึ้น

ในหลักสูตรนี้ผู้เข้าฝึกอบรมจะได้เรียนรู้หลักการควบคุมระยะไกลด้วยระบบเครือข่ายพื้นฐานแบบ CC-Link, การทดลองเขียนโปรแกรมสำหรับควบคุมการทำงานและการตั้งค่า PLC Parameter เพื่อให้สามารถใช้งานร่วมกับอุปกรณ์ภายนอกแบบ Remote Input/Output, Remote Device ทั้งชนิด Digital และ Analog, รวมถึงการสื่อสารข้อมูลระหว่าง PLC ด้วยกันแบบ Local นอกจากนี้ผู้เข้าฝึกอบรมยังได้เรียนรู้หลักการตรวจหาสาเหตุเบื้องต้นเมื่อระบบ CC-Link ทำงานผิดพลาดอีกด้วย

โครงสร้างหลักสูตร
  1. ความรู้พื้นฐานและโครงสร้างระบบ CC-Link
  2. การตั้งค่า Parameter ของระบบ CC-Link
  3. การรับส่งข้อมูลใน Buffer memory
  4. การกำหนดตำแหน่งของ Remote I/O
  5. การเขียนโปรแกรมเพื่อสื่อสารระหว่าง Master Station และ Remote Station
  6. การตรวจสอบการทำงาน และแก้ไขปัญหาในระบบ CC-Link
ความรู้ที่ต้องมี
  1. ผ่านการอบรม PLC ขั้นสูง (PLC201) หรือมีความรู้เกี่ยวกับ PLC ขั้นสูง และสามารถใช้งานโปรแกรม GX Works2 ได้เป็นอย่างดี
  2. มีความรู้พื้นฐานคอมพิวเตอร์ และภาษาอังกฤษ
อุปกรณ์ที่บริษัทจัดเตรียมให้ ชุดทดลอง PLC Q-Series และ CC-Link จำนวน 9ชุด
เวลาในการฝึกอบรม 9.00 – 16.30 น. (ลงทะเบียน 8.30 น.)
จำนวนวัน 2 วัน
จำนวนผู้เข้าอบรม/ ครั้ง 18 คน (ผู้เข้าอบรม 2 ท่าน/1 ชุดทดลอง)

หมายเหตุ: รายละเอียดของหลักสูตรอาจมีการเปลี่ยนแปลงโดยไม่มีการแจ้งล่วงหน้า

Motion Controller (QMO401- MELFT13)

หลักสูตรนี้จัดทำขึ้นเพื่อให้ผู้ที่มีความสนใจศึกษาหรือผู้ใช้งานทั่วไปได้เรียนรู้ถึงหลักการนำ Servo Motor มาใช้กับ PLC รุ่น Q-Series ในการควบคุมการทำงานแบบ Motion Control ซึ่งการใช้งานในลักษณะดังกล่าวกำลังได้รับความนิยมมากในโรงงานอุตสาหกรรมปัจจุบันเนื่องจากมีความละเอียด แม่นยำสูง และสามารถทำงานที่สลับซับซ้อนมากกว่าการควบคุม Servo Motor แบบปกติทั่วไป ดังนั้นเครื่องจักรส่วนใหญ่ในปัจจุบันจึงหันมาใช้รูปแบบการควบคุมชนิดนี้มากขึ้น

ในหลักสูตรนี้ผู้เข้าฝึกอบรมจะได้เรียนรู้ถึงทฤษฎีการควบคุม Servo Motor ด้วยระบบ Motion Control ขั้นพื้นฐาน รวมถึงการใช้งานโปรแกรม MT Developer ตลอดจนการเขียนโปรแกรมเพื่อควบคุมการทำงาน นอกจากนั้นผู้เข้าฝึกอบรมยังได้เรียนรู้ถึงการตรวจสอบและวิเคราะห์ปัญหาที่เกิดขึ้นจากการทดสอบในการปฏิบัติงานจริงอีกด้วย

โครงสร้างหลักสูตร
  1. หลักการทำงานของ Motion Controller
  2. ประเภทของ Motion Controller
  3. การใช้งาน Motion Controller
  4. การออกแบบโปรแกรม และประยุกต์ใช้งาน
  5. การใช้งานโปรแกรม MT Developer
    • คำสั่งพื้นฐาน และคำสั่งพิเศษ
    • การอ่าน/เขียน โปรแกรมระหว่างคอมพิวเตอร์และ Motion Controller
    • การตรวจสอบการทำงาน
  6. การวิเคราะห์และแก้ไขปัญหา
ความรู้ที่ต้องมี
  1. ผ่านการอบรม Servoขั้นพื้นฐาน (SVO301)
  2. มีความรู้พื้นฐานคอมพิวเตอร์ และภาษาอังกฤษ
  3. ความรู้พื้นฐานด้านไฟฟ้า หรือประสบการณ์ในการวัดค่าและควบคุมระบบ
  4. ทักษะพื้นฐานด้านคอมพิวเตอร์และภาษาอังกฤษ
อุปกรณ์ที่บริษัทจัดเตรียมให้ ชุดทดลอง Motion Controller (Q-Series) จำนวน 4ชุด
เวลาในการฝึกอบรม 9.00 – 16.30 น. (ลงทะเบียน 8.30 น.)
จำนวนวัน 3 วัน
จำนวนผู้เข้าอบรม/ ครั้ง 8 คน (ผู้เข้าอบรม 2 ท่าน/1 ชุดทดลอง)

หมายเหตุ: รายละเอียดของหลักสูตรอาจมีการเปลี่ยนแปลงโดยไม่มีการแจ้งล่วงหน้า

Servo ขั้นพื้นฐาน (SVO301- MELFT13)

หลักสูตรนี้จัดทำขึ้นเพื่อให้ผู้ที่มีความสนใจศึกษาหรือผู้ใช้งานทั่วไปได้เรียนรู้ถึงหลักการใช้งาน Servo Motor เนื่องจากเครื่องจักรที่ใช้ผลิตสินค้าในปัจจุบันต้องการความละเอียดและความแม่นยำสูง เพื่อให้สินค้าที่ผลิตออกมาไม่เกิดของเสีย (Zero Defreg) ดังนั้นเครื่องจักรส่วนใหญ่ในปัจจุบันจะใช้ Servo Motor ซึ่งเป็นระบบการควบคุมแบบปิด (Closed-Loop Control ) ซึ่งจะมีข้อดีในเรื่องของความแม่นยำสูงและยังสามารถตอบสนองการทำงานได้อย่างรวดเร็ว นอกจากนั้นแล้ว Servo Motor ยังประยุกต์ใช้งานในการควบคุมแบบอื่นๆได้อีก อาทิเช่น การควบคุมความเร็ว, การปรับแต่งอัตราเร่ง, การควบคุมแรงบิดและการควบคุมตำแหน่ง เป็นต้น

ในหลักสูตรนี้ผู้เข้าฝึกอบรมจะได้เรียนรู้ถึงทฤษฎีการนำ PLC มาใช้ในการควบคุม Servo Motor, การเลือกใช้งาน Servo Motor และ Servo Amplifier ให้เหมาะสมกับชนิดงาน รวมถึงวิธีการต่อสายสัญญาณแบบต่างๆและการแสดงสถานะการทำงานของ Servo Motor นอกจากนั้นผู้เข้าฝึกอบรมยังได้เรียนรู้ถึงการเขียนโปรแกรมสำหรับการปฏิบัติงานจริงอีกด้วย

โครงสร้างหลักสูตร
  1. หลักการทำงานพื้นฐานของระบบ Servo
  2. การเลือก Servo Amplifier และ Servo มอเตอร์
  3. โครงสร้างของระบบ Servo และการต่อสายสัญญาณในแบบต่างๆ
  4. การตั้งค่า Parameter
  5. การแสดงผลการทำงาน
  6. การประยุกต์ใช้งานระบบ Servo
  7. การออกแบบ และเขียนโปรแกรมควบคุมการทำงานด้วย PLC
ความรู้ที่ต้องมี
  1. ผ่านการอบรม PLC ขั้นพื้นฐาน (PLC101) หรือมีความรู้พื้นฐาน PLC และสามารถใช้งานโปรแกรม GX Works2 ได้
  2. มีประสบการณ์ทำงานที่เกี่ยวข้องกับมอเตอร์
  3. มีความรู้พื้นฐานคอมพิวเตอร์ และภาษาอังกฤษ
อุปกรณ์ที่บริษัทจัดเตรียมให้ ชุดทดลอง Servo (MRJ4) และ PLC (FX3U)จำนวน 10ชุด
เวลาในการฝึกอบรม 9.00 – 16.30 น. (ลงทะเบียน 8.30 น.)
จำนวนวัน 2 วัน
จำนวนผู้เข้าอบรม/ ครั้ง 20คน (ผู้เข้าอบรม 2 ท่าน/1 ชุดทดลอง)

หมายเหตุ: รายละเอียดของหลักสูตรอาจมีการเปลี่ยนแปลงโดยไม่มีการแจ้งล่วงหน้า

P.M Servo (PMS201-MELFT16) NEW

หลักสูตรนี้จัดทำขึ้นเพื่อให้ผู้ที่มีความสนใจศึกษาหรือผู้ใช้งานทั่วไปได้เรียนรู้ถึงหลักการซ่อมบำรุงรักษาอุปกรณ์ Servo motor เนื่องจากในปัจจุบันระบบการผลิตในโรรงงานอุตสาหกรรมส่วนใหญ่ได้นำเครื่องจักรที่มีอุปกรณ์ Servo motor เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในขบวนการผลิตสินค้า เนื่องจากมีความแม่นยำและมีประสิทธิสูง ดังนั้นเมื่อเกิดความเสียหายขึ้นกับตัวอุปกรณ์ Servo motor ผู้ใช้จึงควรทราบถึงวิธีการดูแลรักษาและการซ่อมบำรุงที่ถูกต้องด้วย

ในหลักสูตรนี้ผู้เข้าฝึกอบรมจะได้เรียนรู้ถึงหลักการติดตั้งอุปกรณ์ Servo motor รวมถึงข้อพึงระวังในการใช้งาน ตลอดจนการตั้งค่าพารามิเตอร์ ให้เหมาะสมกับประเภทของงานในลักษณะต่างๆ ทั้งยังได้เรียนรู้ถึงหลักการวิเคราะห์ปัญหาและการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นกับอุปกรณ์ Servo motor อีกด้วย

โครงสร้างหลักสูตร
  1. วิธีการใช้โปรแกรม MR-Configurator เพื่อช่วยวิเคราะห์ความผิดพลาดในการ ทำงานของ Servo motor
  2. การแก้ไขปัญหาเมื่อเกิด Alarm เบื้องต้น
  3. เทคนิคการลดปัญหาสัญญาณรบกวนในระบบ
  4. การติดตั้งและข้อพึงควรระวังในการใช้งาน
  5. ความหมายและความสำคัญของพารามิเตอร์
ความรู้ที่ต้องมี
  1. ผ่านการอบรมหลักสูตร Basic Servo (SVO301) หรือ หลักสูตร Motion Controller (QMO401-MELFT13)
อุปกรณ์ที่บริษัทจัดเตรียมให้ ชุดทดลอง P.M Servo motor จำนวน 5 ชุด
เวลาในการฝึกอบรม 9.00 – 16.30 น. (กรุณามาลงทะเบียนก่อนเวลา 30 นาที)
จำนวนวัน 1 วัน
จำนวนผู้เข้าอบรม/ ครั้ง 10 คน ( ผู้เข้าอบรม 2 ท่าน/ 1 ชุดทดลอง )

หมายเหตุ: รายละเอียดของหลักสูตรอาจมีการเปลี่ยนแปลงโดยไม่มีการแจ้งล่วงหน้า

Basic Inverter (INV101-MELFT13)

หลักสูตรนี้จัดทำขึ้นเพื่อให้ผู้ที่มีความสนใจศึกษา หรือผู้ใช้งานทั่วไปได้เรียนรู้ถึงหลักการควบคุมความเร็วมอเตอร์และการประยุกต์ใช้งานโดยใช้อุปกรณ์ Inverter ซึ่งปัจจุบันนิยมใช้กันอย่างแพร่หลายในแวดวงอุตสาหกรรม เนื่องจากใช้งานง่าย มีให้เลือกหลายแบบตามชนิดการใช้งาน มีประสิทธิภาพสูง นอกจากนี้ยังสามารถช่วยประหยัดพลังงานอีกด้วย

ในหลักสูตรนี้ผู้เข้าฝึกอบรมจะได้เรียนรู้ถึงทฤษฎีการควบคุมความเร็วมอเตอร์ด้วย Inverter ขั้นพื้นฐาน, การเลือกชนิดของ Inverter ให้เหมาะสมกับประเภทงาน, การปรับตั้งค่า Parameter และการทดสอบงานจริงด้วยอุปกรณ์ของจริง

โครงสร้างหลักสูตร
  1. หลักการควบคุมความเร็วมอเตอร์ด้วย Inverter
  2. การทำงานของมอเตอร์ที่ถูกควบคุมโดย Inverter
  3. การเลือก Inverter ให้เหมาะสมกับการใช้งาน
  4. ส่วนประกอบของ Inverter
  5. การติดตั้งและการปรับค่า Parameter ของ Inverter
  6. วิธีการเลือก Inverter เพื่อทดแทนตัวเก่า และวิธีการเปลี่ยน Inverter
  7. อุปกรณ์เสริมของ Inverter
  8. การตรวจสอบการทำงาน การวิเคราะห์ปัญหา และแก้ปัญหา Inverter
ความรู้ที่ต้องมี
  1. มีความรู้พื้นฐานด้านไฟฟ้า หรือมีประสบการณ์ทำงานที่เกี่ยวข้องกับมอเตอร์
  2. มีความรู้พื้นฐานคอมพิวเตอร์ และภาษาอังกฤษ
อุปกรณ์ที่บริษัทจัดเตรียมให้ ชุดทดลอง Inverter (A800) จำนวน 8ชุด
เวลาในการฝึกอบรม 9.00 – 16.30 น. (ลงทะเบียน 8.30 น.)
จำนวนวัน 1 วัน
จำนวนผู้เข้าอบรม/ ครั้ง 14 คน (ผู้เข้าอบรม 2 ท่าน/1 ชุดทดลอง)

หมายเหตุ: รายละเอียดของหลักสูตรอาจมีการเปลี่ยนแปลงโดยไม่มีการแจ้งล่วงหน้า

Advance Inverter (ADI201-MELFT2016) NEW

หลักสูตรนี้จัดทำขึ้นเพื่อให้ผู้ที่มีความสนใจศึกษาหรือผู้ใช้งานทั่วไปได้เรียนรู้ถึงหลักการใช้งาน Inverter ในระดับที่สูงขึ้น เนื่องจากในปัจจุบัน Inverter รุ่นใหม่ได้มีการพัฒนาฟังก์ชั่นการใช้งานให้มีความสะดวกและเหมาะสมกับความต้องการของผู้ใช้งานมากขึ้น อีกทั้งยังสามารถเพิ่มประสิทธิภาพในด้านของการลดค่าใช้จ่ายในด้านของการประหยัดพลังงานมากกว่าเดิมอีกด้วย

ในหลักสูตรนี้ผู้เข้าฝึกอบรมจะได้เรียนรู้ถึงหลักการใช้งานฟังก์ชั่น PLC ในอุปกรณ์ Inverter รุ่น A800 และได้รับความรู้ในการตั้งค่าพารามิเตอร์ ให้เหมาะสมกับลักษณะการใช้งานในฟังก์ชั่นดังกล่าว อีกทั้งยังได้เรียนรู้ถึงหลักการเขียนโปรแกรมแลดเดอร์ลงในตัวอุปกรณ์ Inverter เพื่อควบคุมความเร็วของมอเตอร์ผ่านซอฟ์แวร์ FR-Configurator2

โครงสร้างหลักสูตร
  1. หลักการทำงานของฟังก์ชั่น PLC ใน Inverter
  2. หลักการ Wiring Inverter สำหรับฟังก์ชั่น PLC ใน Inverter
  3. หลักการตั้งค่าพารามิเตอร์สำหรับฟังก์ชั่น PLC ใน Inverter
  4. หลักการติดตั้งและการใช้งานซอฟ์แวร์ FR-Configuration2
  5. หลักการเขียนโปรแกรมแลดเดอร์สำหรับฟังก์ชั่น PLC ใน Inverter
  6. การทำงานของอุปกรณ์รีเลย์และดาต้าพิเศษสำหรับฟังก์ชั่น PLC ใน Inverter
  7. หลักการวิเคราะห์และการแก้ไขปัญหาเมื่อ Inverter ทำงานผิดปกติ
ความรู้ที่ต้องมี
  1. ผ่านการฝึกอบรม Basic PLC (PLC101) หรือ Advance PLC (PLC201)
  2. ผ่านการฝึกอบรม Basic Inverter (INV101)
อุปกรณ์ที่บริษัทจัดเตรียมให้ ชุดทดลอง Inverter รุ่น A800 8 ชุด
เวลาในการฝึกอบรม 9.00 – 16.30 น. (กรุณามาลงทะเบียนก่อนเวลา 30 นาที)
จำนวนวัน 1 วัน
จำนวนผู้เข้าอบรม/ ครั้ง 16 คน ( ผู้เข้าอบรม 2 ท่าน/ 1 ชุดทดลอง )

หมายเหตุ: รายละเอียดของหลักสูตรอาจมีการเปลี่ยนแปลงโดยไม่มีการแจ้งล่วงหน้า

P.M Inverter (PMS201-MELFT16) NEW

หลักสูตรนี้จัดทำขึ้นเพื่อให้ผู้ที่มีความสนใจศึกษาหรือผู้ใช้งานทั่วไปได้เรียนรู้ถึงหลักการซ่อมบำรุงรักษาอุปกรณ์ Inverter เนื่องจากในปัจจุบันระบบการผลิตในโรรงงานอุตสาหกรรมได้นำอุปกรณ์ Inverter เข้ามาใช้ในการควบคุมความเร็วมอเตอร์เนื่องจากมีประสิทธิภาพสูงทั้งยังสามารถลดค่าใช้จ่ายในด้านของการประหยัดพลังงาน ดังนั้นเมื่อเกิดความเสียหายขึ้นกับตัวอุปกรณ์ Inverter ผู้ใช้จึงควรทราบถึงวิธีการดูแลรักษาและการซ่อมบำรุงที่ถูกต้องด้วย

ในหลักสูตรนี้ผู้เข้าฝึกอบรมจะได้เรียนรู้ถึงหลักการตรวจเช็คการทำงานและการซ่อมบำรุงรักษาอุปกรณ์ Inverter รวมถึงข้อพึงระวังในการใช้งาน ตลอดจนการตั้งค่าพารามิเตอร์ Inverter ให้เหมาะสมกับประเภทของงานในลักษณะต่างๆ ทั้งยังได้เรียนรู้ถึงหลักการวิเคราะห์ปัญหาและการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นกับอุปกรณ์ Inverter อีกด้วย

โครงสร้างหลักสูตร
  1. หลักการ Maintenance Inverter
  2. หลักการตรวจเช็คของระบบตรวจจับภายใน Inverter
  3. หลักการใช้งานซอฟแวร์ FR-Configurator2
  4. หลักการตั้งค่าพารามิเตอร์ของฟังก์ชั่น Protective Inverter ด้วยซอฟแวร์ FR-Configurator2
  5. หลักการวิเคราะห์และแก้ไขปัญหาเมื่อ Inverter ทำงานผิดปกติ
ความรู้ที่ต้องมี
  1. ผ่านการอบรม PLC ขั้นสูง (PLC201) หรือมีความรู้เกี่ยวกับ PLC ขั้นสูง และสามารถใช้งานโปรแกรม GX Works 2 ได้เป็นอย่างดี
  2. มีความรู้พื้นฐานคอมพิวเตอร์ และภาษาอังกฤษ
อุปกรณ์ที่บริษัทจัดเตรียมให้ ชุดทดลอง Inverter 5 ชุด
เวลาในการฝึกอบรม 9.00 – 16.30 น. (กรุณามาลงทะเบียนก่อนเวลา 30 นาที)
จำนวนวัน 1 วัน
จำนวนผู้เข้าอบรม/ ครั้ง 10 คน ( ผู้เข้าอบรม 2 ท่าน/ 1 ชุดทดลอง )

หมายเหตุ: รายละเอียดของหลักสูตรอาจมีการเปลี่ยนแปลงโดยไม่มีการแจ้งล่วงหน้า

Basic GOT ( GOT201-MELFT13 )

หลักสูตรนี้จัดทำขึ้นเพื่อให้ผู้ที่มีความสนใจศึกษาหรือผู้ใช้งานทั่วไปได้เรียนรู้ถึงหลักการใช้งาน GOT ซึ่งเป็นอุปกรณ์ HMI (Human Machine Interface) ที่ได้รับการยอมรับและมีความนิยมสูงสุดในปัจจุบันนี้ เนื่องจากเครื่องจักรสมัยใหม่ในปัจจุบันได้นำอุปกรณ์ HMI มาใช้ในการควบคุมแทนอุปกรณ์ประเภท Input และ Output โดยมีการนำมาใช้กันอย่างแพร่หลายในโรงงานอุตสาหกรรม เนื่องจากสามารถใช้งานได้อย่างสะดวก, มีความน่าเชื่อถือ, ราคาถูกและดูแลรักษาง่าย

ในหลักสูตรนี้ผู้เข้าฝึกอบรมจะได้เรียนรู้หลักการทำงานของอุปกรณ์ HMI, ประเภทของ GOT, การเลือกใช้ GOT ให้เหมาะสมกับงาน, การสื่อสารข้อมูลระหว่าง PLC กับ GOT ในแบบต่างๆ รวมถึงการออกแบบและการสร้างหน้าจอ GOT ด้วยโปรแกรม GT Designer 3 นอกจากนี้ผู้เข้าฝึกอบรมยังได้เรียนรู้ถึงวิธีการแก้ไขปัญหาเบื้องต้นเมื่อ GOT อยู่ในสภาวะการทำงานที่ผิดปกติ รวมถึงหลักการปรับปรุง GOT จากรุ่นเก่าให้เป็นรุ่นใหม่อีกด้วย

โครงสร้างหลักสูตร
  1. หลักการพื้นฐานของ HMI
  2. ประเภทของ GOT และการเลือกใช้ให้เหมาะสมกับงาน
  3. การใช้งานโปรแกรม GT Designer3 และ GT Simulator
  4. วิธีติดตั้งระบบปฏิบัติการของ GOT และการเชื่อมโยง GOT กับ PLC
  5. การออกแบบหน้าจอแสดงผลสัญญาณแบบ Digital (Bit device) และ Analog (Word device)
  6. การออกแบบหน้าจอ Alarm
  7. การออกแบบหน้าจอกราฟ
  8. ระบบรักษาความปลอดภัยใน GOT
ความรู้ที่ต้องมี
  1. ผ่านการอบรม PLC ขั้นสูง (PLC201) หรือมีความรู้เกี่ยวกับ PLC ขั้นสูง และสามารถใช้งานโปรแกรม GX Works2 ได้เป็นอย่างดี
  2. มีความรู้พื้นฐานคอมพิวเตอร์ และภาษาอังกฤษ
อุปกรณ์ที่บริษัทจัดเตรียมให้ ชุดทดลอง PLC (FX-Series ,L-Series) และ GOT จำนวน 16 ชุด
เวลาในการฝึกอบรม 9.00 – 16.30 น. (ลงทะเบียน 8.30 น.)
จำนวนวัน 2 วัน
จำนวนผู้เข้าอบรม/ ครั้ง 32 คน (ผู้เข้าอบรม 2 ท่าน/1 ชุดทดลอง)

หมายเหตุ: รายละเอียดของหลักสูตรอาจมีการเปลี่ยนแปลงโดยไม่มีการแจ้งล่วงหน้า

Advance GOT (ADG201-MELFT2016) NEW

หลักสูตรนี้จัดทำขึ้นเพื่อให้ผู้ที่มีความสนใจศึกษาหรือผู้ใช้งานทั่วไปได้เรียนรู้ถึงหลักการใช้งาน HMI ในระดับที่สูงขึ้น เนื่องจากปัจจุบันการผลิตสินค้าในโรงงานอุตสาหกรรมได้นิยมนำ HMI มาใช้ในระบบการควบคุมการผลิตที่มีความต่อเนื่องและซับซ้อนมากขึ้น ดังนั้น HMI รุ่นใหม่ได้มีการพัฒนาฟังก์ชั่นการใช้งานเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ได้อย่างเหมาะสมและสอดคล้องกับความต้องการของผูใช้งาน โดยฟังก์ชั่นการใช้งานดังกล่าวนี้จะอยู่นอกเหนือจากการใช้งานฟังก์แบบปกติทั่วไป

ในหลักสูตรนี้ผู้เข้าฝึกอบรมจะได้เรียนรู้ถึงหลักการใช้งานฟังก์ชั่นพิเศษบนอุปกรณ์ HMI รุ่น GOT2000 และได้รับความรู้ในการเลือกรุ่น GOT2000 ให้เหมาะสมและสอดคล้องกับลักษณะงาน นอกจากนี้ยังได้เรียนรู้ถึงหลักการเชื่อมต่อระหว่าง PLC กับ GOT2000 ผ่านระบบโครงข่าย พร้อมด้วยหลักการออกแบบหน้าจอด้วยด้วยซอฟแวร์ GT Designer 3

โครงสร้างหลักสูตร
  1. การเปรียบเทียบระหว่าง GOT1000 และ GOT2000
  2. หลักการตั้งค่าการใช้งานฟังก์ชั่น GOT2000 ขั้นสูง
  3. หลักการใช้งานฟังก์ชั่นซ่อมบำรุงรักษาบน GOT2000
  4. หลักการใช้งานฟังก์ชั่น Advance Alarm
  5. ข้อพึงระวังในการใช้งาน GOT2000
  6. หลักการวิเคราะห์และแก้ไขปัญหาเมื่อ GOT2000 ทำงานผิดปกติ
ความรู้ที่ต้องมี
  1. ผ่านการฝึกอบรม Basic GOT (GOT201)
อุปกรณ์ที่บริษัทจัดเตรียมให้ ชุดทดลอง PLC และ GOT 7 ชุด
เวลาในการฝึกอบรม 9.00 – 16.30 น. (กรุณามาลงทะเบียนก่อนเวลา 30 นาที)
จำนวนวัน 2 วัน
จำนวนผู้เข้าอบรม/ ครั้ง 14 คน ( ผู้เข้าอบรม 2 ท่าน/ 1 ชุดทดลอง )

หมายเหตุ: รายละเอียดของหลักสูตรอาจมีการเปลี่ยนแปลงโดยไม่มีการแจ้งล่วงหน้า

Basic SCADA (SCD201-MELFT16) NEW

หลักสูตรนี้จัดทำขึ้นเพื่อให้ผู้ที่มีความสนใจศึกษาหรือผู้ใช้งานทั่วไปได้เรียนรู้ถึงโครงสร้างพื้นฐานการทำงานของระบบ SCADA (Supervisory Control And Data Acquisition) ซึ่งเป็นระบบที่ใช้ในการบริหารจัดการด้านต้นทุนและการปรับปรุงคุณภาพการผลิตสินค้าภายในโรงงานอุตสากรรมในปัจจุบัน โดยระบบ SCADA นี้สามารถทำการจัดเก็บข้อมูลจากขบวนการผลิตเพื่อนำไปแสดงผลแบบ Real Time อีกทั้งยังสามารถทำการวิเคราะห์ข้อมูลแบบย้อนกลับเพื่อหาสาเหตุผิดปกติที่เกิดขึ้นจากขบวนการผลิตได้

ในหลักสูตรนี้ผู้เข้าฝึกอบรมจะได้เรียนรู้ถึงหลักการทำงานพื้นฐานของระบบ SCADA รวมถึงได้ฝึกหัดออกแบบการสร้างหน้าจอกราฟฟิกในรูปแบบต่างๆ ทั้งยังได้เรียนรู้ถึงวิธีการแสดงผลการแจ้งเตือนแบบ Alarm และวิธีการสร้างกราฟแสดงแนวโน้มการทำงาน (Trend Graph) ด้วยซแฟแวร์ MC Works64 นอกเหนือจากนี้ผู้เข้าฝึกอบรมยังจะได้เรียนรู้ถึงหลักการเชื่อมต่อระบบ SCADA กับ PLC ผ่านซอฟแวร์ MX-OPC Server อีกด้วย

โครงสร้างหลักสูตร
  1. หลักการและโครงสร้างพื้นฐานของระบบ SCADA
  2. ความจำเป็นของระบบ SCADA ในระบบการผลิต
  3. โครงสร้างและฟังก์ชั่นการทำงานของซอฟแวร์ MC Works64
  4. หลักการออกแบบหน้าจอแสดงผลในรูปแบบของ GraphWorks64
  5. หลักการออกแบบการแสดงผล Alarm ในรูปแบบของ AlarmWorks64
  6. หลักการออกแบบการแสดงผลเทรนกราฟในรูปแบบของ TrendWorks64
  7. หลักการทำงานของซอฟ์แวร์ MX-OPC Server
  8. หลักการเชื่อมต่อระหว่างอุปกรณ์ PLC กับซอฟแวร์ MC Works64
ความรู้ที่ต้องมี
  1. ผ่านการอบรม PLC ขั้นสูง (PLC201) หรือมีความรู้เกี่ยวกับ PLC ขั้นสูง และสามารถใช้งานโปรแกรม GX Works 2 ได้เป็นอย่างดี
  2. มีความรู้พื้นฐานคอมพิวเตอร์ และภาษาอังกฤษ
อุปกรณ์ที่บริษัทจัดเตรียมให้ ชุดทดลอง PLC (Q-Series) จำนวน 7 ชุด
เวลาในการฝึกอบรม 9.00 – 16.30 น. (กรุณามาลงทะเบียนก่อนเวลา 30 นาที)
จำนวนวัน 2 วัน
จำนวนผู้เข้าอบรม/ ครั้ง 14 คน ( ผู้เข้าอบรม 2 ท่าน/ 1 ชุดทดลอง )

หมายเหตุ: รายละเอียดของหลักสูตรอาจมีการเปลี่ยนแปลงโดยไม่มีการแจ้งล่วงหน้า